การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์

Main Article Content

กันยกร หาญชนะวงษ์, อนุชา โสมาบุตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดอย่างมี วิจารณญาณและการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ ประเภทการวิจัยการพัฒนา (Richey and Klein, 2004): การวิจัยผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้หลายวิธีที่ใช้ในขั้นตอนนี้มีดังนี้ 1) การออกแบบและการพัฒนาและ 2) การประเมิน ประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ผลที่ได้พบว่า ประการแรก สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ศูนย์ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ แก้ปัญหา 4) การโค้ช 5) ร่วมกันเรียนรู้ และ 6) ศูนย์ช่วยเหลือ และประการที่สองประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ บนเครือข่ายฯ นี้ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ 3 ด้านคือ 1) ด้านเนื้อหานั้นมีความถูกต้องตรงตามเนื้อหาที่กำหนดและเหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน 2) ด้านสื่อออกแบบ ตามคุณลักษณะของสื่อได้ดี เอื้อต่อการเรียนของผู้เรียนได้ และ 3) ด้านการออกแบบโดยรวมแล้ว เหมาะสมต่อการส่งเสริมการ คิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และให้ปรับปรุงสถานการณ์ปัญหาและภารกิจให้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและ มีความสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

Article Details

How to Cite
[1]
อนุชา โสมาบุตร ก. ห., “การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 13–18, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

กันยกร หาญชนะวงษ์, อนุชา โสมาบุตร, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น