รูปแบบการทําความเขาใจเรื่องกรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5

Main Article Content

สวางพงศ สมัครการ, สุธา ภูสิทธิศักดิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษารูปแบบการทําความเขาใจ (mental models) และระดับความเขาใจมโนมติ เรื่องกรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเปนการวิจัย เชิงสํารวจ (survey research) เก็บรวบรวมขอมูลโดยใชแบบวัดรูปแบบการทําความเขาใจ เรื่องกรด-เบส ซึ่งเปนขอคําถาม ปลายเปดที่ใหเขียนแสดงความเขาใจ วิเคราะหขอมูลจากการอานคําตอบอยางละเอียดแลวตีความเพื่อหารูปแบบและประเด็น ของคําตอบ จากนั้นนํารูปแบบของคําตอบมาจัดกลุมของรูปแบบการทําความเขาใจของนักเรียนโดยแบงออกเปน 8 กลุม และนํารูปแบบการทําความเขาใจที่ไดมาตรวจสอบระดับความเขาใจมโนมติซึ่งแบงออกเปน 5 ระดับ

ผลการวิจัยพบวา นักเรียนมีรูปแบบการทําความเขาใจที่หลากหลาย แตกตางกันตามเนื้อหาและบทเรียน ดังนี้ 1) นักเรียนมีรูปแบบการทําความเขาใจแบบ Semantic, Feature comparison model และ Symbolic ในเนื้อหาเรื่องสารละลายอิเล็กโทรไลตและนอนอิเล็กโทรไลตและเนื้อหาเรื่องทฤษฎีกรด-เบส 2) นักเรียนมีรูปแบบการทํา ความเขาใจแบบ Semantic, Visual image, Feature comparison model และ Symbolic ในเนื้อหาเรื่องคูกรด-เบส 3) นักเรียน มีรูปแบบการทําความเขาใจแบบ Semantic, Sequencing of event, Feature comparison model และ Symbolic ในเนื้อหา เรื่องการแตกตัวของกรด-เบส 4) นักเรียนมีรูปแบบการทําความเขาใจแบบ Semantic, Visual image, Sequencing of event และSymbolic ในเนื้อหาเรื่อง pH การวัด pH และเนื้อหาเรื่องการไทเทรตกรด-เบส 5) นักเรียนมีรูปแบบการทําความเขาใจ แบบ Semantic และ Symbolic ในเนื้อหาเรื่องปฏิกิริยาของกรด-เบสและเนื้อหาเรื่องสารละลายบัฟเฟอร โดยรูปแบบ การทําความเขาใจที่นักเรียนแสดงออกมากที่สุดคือแบบ Semantic ซึ่งไดแก ขอมูลหรือความรูที่ถูกจดจําในลักษณะที่เปนความหมาย หรือคําจํากัดความ รองลงมาคือรูปแบบการทําความเขาใจแบบ Symbolic ซึ่งไดแก ขอมูลหรือความรูที่ถูกจดจําในลักษณะ ของวัตถุ อักษร รูปราง หรือสมการ โดยที่ผลการวิเคราะหระดับความเขาใจมโนมติของรูปแบบการทําความเขาใจของนักเรียน พบวานักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญพิเศษและโรงเรียนขนาดใหญสามารถใหคําตอบที่ถูกตองสมบูรณ (CU) มากกวานักเรียน จากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กไมแสดงรูปแบบการทําความเขาใจ (NU) มากกวานักเรียนในโรงเรียนขนาดอื่นๆ

Article Details

How to Cite
[1]
สุธา ภูสิทธิศักดิ์ ส. ส., “รูปแบบการทําความเขาใจเรื่องกรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 1, pp. 166–172, May 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

สวางพงศ สมัครการ, สุธา ภูสิทธิศักดิ์, สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน