ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล

Main Article Content

ธันยพร ขันไชย
กุลชลี จงเจริญ
เก็จกนก เอื้อวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำการเรียนการสอนจะสามารถพัฒนาพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษาตามไปด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
ขันไชย ธ. ., จงเจริญ ก. . ., และ เอื้อวงศ์ เ. ., “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล”, EDGKKUJ, ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 45–63, ก.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย (Research article)

References

โกวิท บุญด้วง, กฤษณะ ดาราเรือง และสมศักดิ์ สุภิรักษ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, 4(3), 125-135.

จินดา ลาโพธิ์. (2563). พฤติกรรมการสอนของครูกับการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารมหาจุฬานา ครทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(5), 36-43.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

เชาวลิตย์ ชูจันทร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับผลทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า ตอนรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้อนาคต. สืบค้นจาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/next-generation%20of%20learning.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรพต รู้เจนทร์ และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). ภาวะผู้นําาทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 150-156.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยา สาส์น.

ปวีณา เมืองมูล. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

ปุณยา จันทมาตย์. (2557). การศึกษาทักษะการสอนของครูสังคมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร...ในศตวรรษที่ 21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 23-34.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การศึกษารากฐานการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เมตตา สอนเสนา และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

รัตนา ดวงแก้ว. (2561). หน่วยที่ 13 ภาวะผู้นำการเรียนการสอน. ในประมวลสาระชุดวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 3-18). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ละอองดาว ปะโพธิง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 1-13.

วันเผด็จ มีชัย, วัลลภา อารีรัตน์ และประกฤติยา ทักษิโณ. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสาศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 79-85.

สมถวิล ศิลปคนธรรพ์ (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สงขลา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกฤตา จันทคณานุรักษ์. (2560). ลักษณะครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 และยุค Thailand 4.0. สืบค้นจาก http://www.kruinter.com/file/80820170917211151-[kruinter.com].pdf.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2016/02/e0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897e0b882e0b8ade0b887e0b884e0b8a3e0b8b9e0b984e0b897e0b8a2e0b983e0 b899e0b8a8e0b895e0b8a7e0b8a3e0b8a3e0b8a9.pdf.

อุษา แซ่เตียว. (2559). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Alig-Mielcarek, J. M. and Hoy, W. K. (2005). A theoretical and empirical analysis of the nature, meaning, and influence of instructional leadership. The Ohio State University. Retrieved from http://72.14.235.104/search?q=cache:P2iwp AZ4GAwJ:www.coe.ohio-state.edu.

Darling-Hammond, L. (2006). Assessing teacher education the usefulness of multiple measures for assessing program outcomes. Journal of Teacher Education, 57(2), 120-138.

Fullan, M. (1991). The moral imperative of school leadership. Thousand Oaks: Corwin Press.

GoConqr, B. (2013, October 25). 10 Modern teaching skills. Retrieved from https://www.goconqr.com/en/examtime/blog/teaching-skills/

Hallinger, P. (2005). Instructional leadership and the school principal: A passing fancy that refuses to fade away. Leadership and Policy in Schools, 4(3), 221-239.

Hallinger, P. and Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behaviors of principals. The Elementary School Journal, 86(2), 217-247.

Janelle, C. (2019, November 1). 15 professional development skills for modern teachers. Retrieved from https://www.teachhub.com/15-professional-development-skills-modern-teachers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krung, S.E. (1992). Instructional Leadership: A constructivist perspective. Educational Administration Quarterly, 28(3), 430-433.

Kyriacou, C. (2007) Improving the self-assessment skill for students of history education in Vietnam to adapt Vietnamese teaching standards. Hanoi National University of Education, 6(9), 1306-1310.

Lee Watanabe-Crockett. (2017). A list of 10 modern teaching skills every educator should have. Retrieved from https://globaldigitalcitizen.org/10-modern-teaching-skills

Linton, J. (2016, January 21). Instructional leadership that inspires innovation. Retrieved from http://corwin-connect.com/2016/01/instructional-leadership-that-inspires-innovation/

Ministry of Education, Guyana (n.d.). Importance of teaching skills in the classroom. Retrieved from https://education.gov.gy/web/index.php/teachers/tips-for-teaching/item/1870-importance-of-teaching-skills-in-the-classroom.

RAND Corporation. (2012). Teaching and learning 21st century skills. Retrieved from https://asiasociety.org/education/teaching-and-learning-21st-century-skills.

School Education Gateway. (n.d.). Teacher skills and competences. Retrieved from https://www.schooleducationgateway.eu/en/pub/resources/toolkitsforschools/subarea.cfm?sa=10.

Sisman, M. (2016). Factors related to instructional leadership perception and effect of instructional leadership on organizational variables: A meta-analysis. Fatih Sultan Mehmet Vakıf University, 16(5), pp.1761-1787.

Temesgen, Melaku. (1998). A study on principal's instructional leadership effectiveness and influencing factors in senior secondary schools of Amhara 139 region. (The Degree of Master of Arts in Educational Administration). Retrieved from http://213.55.95.56/handle/123456789/11612

The Maryland State Board of Education. (2005). Maryland instructional leadership framework. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED505848.pdf.

Timperley, H. (2011). Realizing the power of professional learning. New York: Open University Press.

University of Washington. (2015). 4 dimensions of instructional leadership. Retrieved from https://info.k-12leadership.org/hs-fs/hub/381270/file-2563776150-pdf/documents/tools/UWCEL-4D-Smart-Card-V2.0.pdf?hsCtaTracking=93f13f05-1fed-4b67-ae6a-0a69bdb1e2c7%7Ccf854e41-63f2-4648-bd9c-da7d32a5b8ad