การพัฒนาแบบประเมินทักษะการปิดป้องตามสภาพจริงในกีฬาเทควันโด สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีเชียงใหม่ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินตามสภาพจริงทักษะปิดป้องกีฬาเทควันโดสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนบ้านศรีเชียงใหม่ จังหวัดอุดรธานี ที่เรียนวิชาเทควันโด จำนวน 30 คน ทำการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของการทดสอบโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) จากการสอบซ้ำ 2 ครั้ง (Test-Retest) ของแบบประเมินทักษะปิดป้องควบคู่กับการใช้วิดีโอ ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินทักษะการปิดป้องตามสภาพจริงในกีฬาเทควันโด สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านศรีเชียงใหม่ มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.78–1.00 ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้ และความเชื่อมั่นของแบบประเมินทักษะการป้องกันบริเวณลำตัวด้วยท่อนแขนด้านนอกเท่ากับ .913 การป้องกันบริเวณใบหน้าและลำตัวด้วยท่อนแขนด้านนอกเท่ากับ .848 การป้องกันบริเวณลำตัวและใบหน้าด้วยท่อนแขนด้านในเท่ากับ .861 การป้องกันบริเวณใบหน้าด้วยท่อนแขนด้านนอกเท่ากับ .922 การป้องกันบริเวณศีรษะด้วยท่อนแขนด้านนอกเท่ากับ .871 และการป้องกันบริเวณด้านข้างของใบหน้าด้วยสันมือเท่ากับ .942 ซึ่งอยู่ในระดับดีและดีเยี่ยม สรุปได้ว่าแบบประเมินตามทักษะการปิดป้องตามสภาพจริงในกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และมีความเชื่อมั่น มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการประเมินทักษะปิดป้องกีฬาเทควันโดสำหรับนักเรียนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพลศึกษากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). คู่มือฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโดตามหลักสูตรมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กฤษดา เพียยุระ และโรจพล บูรณรักษ์. (2562). ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องนับจำนวนครั้งและวัดความเร็วการเตะ ในกีฬาเทควันโดที่สร้างขึ้นเองในการทดสอบทักษะการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด สำหรับนักกีฬาเทควันโดระดับเยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3), 109–121.
กาญจนา สุทธิแพทย์. (2554) การสร้างแบบประเมินค่าทักษะกีฬาเทควันโดสำหรับผู้เข้ารับการฝึกในศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เต็มยศ แก้วแกมทอง และจุฑามาศ บัตรเจริญ. (2562). การสร้างแบบประเมินตามสภาพจริงทักษะกีฬาเทควันโดสำหรับนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 5(2), 1–26.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2545). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.
บุญส่ง โกสะ. (2547). การวัดผลและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย. (2559). ประวัติสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2656, จาก http://www.taekwondothai.com/about/tkdt
Baumgartner. (2003). Measurement to Health and Physical Education. Boston: Houghton.
David P. (2003). The Balanced Scorecard: translating strategy into action. Massachusetts: Harvard Business School Press.
J. Chen & R. K. h. Ching. (2015). The Effects of Mobile Customer Relationship Management on Customer Loyalty: Brand Image Does Matter. 40th Annual Hawaii International Conference on System Sciences (HICSS'07), Waikoloa, HI.
Jonsson, Anders & Gunilla Svingby. (2007). “The use of scoring rubrics: Reliability, validityand educational consequences.” Educational Research Review 2. 130–144.
Kirkendall, D. R., Gruber, J. J., & Johnson, R. E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Educators. Illinois: Human Kinetics publishers.
Koo T. K. & Li M. Y, (2016). A Guideline of Selecting and Reporting Intraclass Correlation Coefficients for Reliability Research. Journal of Chiropractic Medicine, 15(2), 155–163.
McMillan, J.H., & Schumacher. (2001). Research in Education. 5 th ed. New York: Addison Wesley Longman, Inc.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the Use Content Specialist in the Assessment of Criterin Reference Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research.
Schober, R. (2014). Simultaneous wireless information and power transfer in modern communication systems. IEEE Communications Magazine, 52(11), 104–110.