วาทกรรมว่าด้วยเรื่องนวัตกรรมในหลักสูตรโรงเรียนสาธิตประถมศึกษา : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมในหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตประถมศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักสูตรโดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งสิ้น 6 รายวิชา และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับคณาจารย์ จำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ โดยศึกษาตามแนวการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมในหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตประถมศึกษาคือ วิธีการใหม่ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ หรือเป็นสิ่งที่พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น การสร้างความรู้ แนวคิด การสร้างผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และสร้างแนวคิดเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน หรือแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน และการนำเอาความคิดสร้างสรรค์ แนวคิด ความรู้ที่ได้เรียนมาผลิตเป็นนวัตกรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3.). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Christensen, C. M. (2003). The innovator’s dilemma: The revolutionary book that will change the way you do business. New York: HarperBusiness Essentials.
Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London: Longman.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco: Jossey-Bass.
Vachkova, S. N., Petryaeva, E. Y., Kupriyanov, R. B., & Suleymanov, R. S. (2021). School in digital age: How big data help to transform the curriculum. Information (Switzerland), 12(1), 1–14.
van Dijk, T. A. (1995). Discourse semantics and ideology. Discourse & Society, 6(2), 243–289.