การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

Main Article Content

พิศาล ศาสตร์แก้ว
สังเวียน ปินะกาลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์ปกติทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์


            ผลการวิจัยพบว่า  (1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง  ทักษะการเล่นลูกสองมือบน  ทักษะการส่งลูกมือล่าง เท่ากับ 1.00, 1.00, และ 0.85 ตามลำดับเทียบกับเกณฑ์แล้วสามารถนำไปทดสอบได้(2) ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่เน้นกระบวนการ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับนัยสำคัญที่  0.01  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.95 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของ Kirkendallและคณะ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก  (3) ความเป็นปรนัย ของแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอล มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับนัยสำคัญที่  0.01  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 1.00 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของ Kirkendallและคณะ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก  (4) เกณฑ์ปกติแบ่งระดับความสามารถออกเป็น 3 ระดับ คือดี ปานกลาง ต่ำ

Article Details

How to Cite
[1]
ศาสตร์แก้ว พ. และ ปินะกาลัง ส., “การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลที่เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม”, EDGKKUJ, ปี 12, ฉบับที่ 4, น. 63–71, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิพาภรณ์ วงศ์ศรีรัตน์. (2550). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิวา จินตกานนท์. (2547). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาฮอกกี้เชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วินัด คงใจดี และ สังเวียน ปินะกาลัง. (2556). การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์ปกติทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 166 -174.
อดิศร เนียมแก้ว. (2557). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรพิมล กิตติธีรโสภณ. (2552). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.