Learning Management For Developing High School Students' Ethicd In Social Studies, Religion and Culture Learning Areas In Phrapariyattidhamma Schools (General Education), Mueang Disyrict, Nongkhai Province

Main Article Content

Phamaha Ampol Dhanapañño (Chaisaree)
Vitthaya Thongdee
Prayoon Saengsai

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านจริยธรรม ในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 354 รูป โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย วิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า (f-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่มและการทดสอบค่า (ANOVA)


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านจริยธรรมในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านหลักสูตรและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ

  2. 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านจริยธรรมในการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยการทดสอบค่า F โดยวิเคราะห์ความ

แปรปรวนทางเดียว จำแนกตาม ชั้นเรียน ขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
[1]
P. A. D. (Chaisaree), V. Thongdee, and P. Saengsai, “Learning Management For Developing High School Students’ Ethicd In Social Studies, Religion and Culture Learning Areas In Phrapariyattidhamma Schools (General Education), Mueang Disyrict, Nongkhai Province”, EDGKKUJ, vol. 13, no. 1, pp. 217–225, Mar. 2019.
Section
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ความคิดเห็นเรื่องวิถีการเรียนรู้ของคนไทย. เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิถีการเรียนรู้ของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

นัทกาญจน์ รัตนวิจิตร. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูสังคมศึกษาเรื่องการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้. ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธวิธีการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สหธรรมิกจำกัด.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2548). รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศศิวิมล รังคะภูติ. (2552). สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปากช่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน.

Anderson, L.W., & Krathwohl, D.R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. New York: Longman.

Bloom, et al. (1956). The Function of Excutive. London: Oxford University Press.