ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ชูพงษ์ พันธุ์แดง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ธีนิดา บัณฑรวรรณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • นิตยา ไหวดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการองค์กร, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ผลการดำเนินงานของธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรคือผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 77,204 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 384 ราย ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้สถิติโมเดลสมการโครงสร้างวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุ ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการองค์กร 2) ส่วนประสมทางการตลาดบริการ
3) ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ 4) ผลการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า Chi-square=79.430, df=100, p=0.951, CMIN/DF=0.985, GFI=0.941, AGFI=0.973, CFI=1.000, RMSEA=0.023 และ SRMR=0.031 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.83 และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารจัดการองค์กร ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่ง และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุด และปัจจัยด้านการบริหารจัดการองค์กรมีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่ง และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้เป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนพัฒนาองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่ง เพื่อนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2567). คู่มือปฏิบัติงานธุรกิจค้าส่งค้าปลีก. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190704131227.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : หุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ : หุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กรรณิการ์ สิทธิชัย. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของMcKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมกรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 1419-1435.

ขนิษฐา เศษคึมบง ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และ สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2565). รูปแบบความสำเร็จการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ประเภทอาหารในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(1), 31-48.

ชลิดา ลิ้นจี้. (2563). การจัดการที่มีผลกระทบต่อกระบวนการบริหารงานที่มีคุณภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 594-604.

ฐิตินันท์ ชารีบุตร และ ธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). ตัวแบบเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อผลการดําเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 37-48.

ปิยะดา ทองศรี และ กฤษดาเชียรวัฒนสุข. (2566). การรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารประเภทอาหารพื้นบ้านขนาดกลางในอำเภอเมืองนครราชสีมาในบริบทของการปรับตัวทางธุรกิจ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 16-33.

นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 43-52.

พรรณรันต์ บุญกว้าง ธนกร สิริสุคันธา และ รวมพร มาลา. (2564). โอกาสและความท้าทายเพื่อความอยู่รอดของร้านค้าปลีกขนาดเล็กในยุคหลังโควิด-19. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 87-98.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). สถิติประยุกต์สำหรับนักวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุบิน พุทโสม. (2564). คุณลักษณะของตลาดค้าส่ง ความสามารถของผู้ค้าส่ง คุณลักษณะของผู้ค้าส่ง และส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนของผู้ประกอบการค้าส่ง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2), 286-300.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). สถิติการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2566, จาก https://www.smebigdata.com/home

Aboelmaged, M. (2018). The drivers of sustainable manufacturing practices in Egyptian SMEs and their impact on competitive capabilities: A PLS-SEM model. Journal of Cleaner Production, 175, 207-221.

Ashu, S. (2013). A Study of Role of Mckinsey’s 7S Framework in Achieving Organizational Excellence. Organization Development Journal, 31(3), 39-50.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1993). Lisrel 8: Structural Equation Model with the Simples command language. Chicago : Software International.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California Management Review, 39(1), 53-79.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th Global ed). Edinburgh : Pearson Education.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 608-610.

Polyanska, A., Zapukhliak, I., & Oksana, D. (2019). Culture of organization in conditions of changes as an ability of efficient transformations: the case of gas transportation companies in Ukraine. Oeconomia Copernicana, 10(3), 561-580.

Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York : Free Press.

Setiawan, P., Hossain, B., Rahmawati, W., Susilo, B. W., & Lorant, D. D. (2022). Webinar among Indonesian academics during Covid-19, embracing the audiences. PLOS One; San Francisco, 17(3), (Mar 2022): e0265257.

Shelke, T., Sjdhu, A.H., & Parab, V. (2018). McKinsey 7s Model Applicability and Relevancein Educational Sector. International Conference on Ongoing Research in Management & IT, 204-244.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/16/2024

How to Cite

พันธุ์แดง ช., บัณฑรวรรณ ธ., & ไหวดี น. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจค้าส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 16(3), 120–138. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/267761