ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ต้องพงศ์ พงษ์พานิช คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ความรู้ทางการเงิน , พฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน , ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จำนวน 252 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ทางการเงิน ด้านมูลค่าเงินตามเวลา ด้านอัตราเงินเฟ้อ และด้านการกระจายความเสี่ยง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินโดยรวม ผลลัพธ์จากการวิจัยในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของธนาคาร นักลงทุน นักธุรกิจ ในการวางแผนการออม การลงทุนในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ สามารถนำผลลัพธ์ จากการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ เล็งเห็นประโยชน์ เกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการลงทุนของนักลงทุน ในการวางแผนทางการเงินและการลงทุน รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนให้เห็นความสำคัญของการมีความรู้ทางด้านการเงิน และสามารถวางแผนชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

References

กษวรรณ ขจรเสรี,(2557) ภาวะเงินเฟ้อกับเศรษฐกิจปัจจุบัน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(15), 111–117.

จันทะสุก ลาดสะอาด โรจนา ธรรมจินดา และ สุจรรย์พินธ์ สุวรรณพันธ์. (2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 124-138.

ชาญณรงค์ ชัยพัฒ. (2563). ความยั่งยืนทางการเงินส่วนบุคคลและพฤติกรรมการออมการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาญธาดา กฤชเลิศกุล (2564). ความรู้ทางการเงิน แรงจูงใจทางการเงิน และทัศนคติทางการเงินส่งผลต่อพฤติกรรมการวางแผน ทางการเงินและการเลือกรูปแบบการออมและการลงทุนในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 กรณีศึกษา : ลูกค้าเอ็กซ์คลูซีฟ ธนาคาร B จำกัด (มหาชน) เขตนครปฐม1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ทรรศนันทน์ ตรีอิทธิฤทธิกุล. (2562). ทักษะการเงินของประชากรไทย. ปริญญานิพนธ์สาขาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยุทธภูมิ จารุเศร์นี.(2555). ความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยพร พันธุ์ผล. (2559). ความสำคัญของการเงิน. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564. จาก https://www.gotoknow.org/posts/599745

ประสิทธิชัย ดอกไม้หอม. (2563). ผลกระทบของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและการประเมิน มูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุภาพร เพ่งพิศ และณัฐดนัย อลีนจิตพงศ์. (2565). ความรู้ทางด้านการเงินปัจจัยและแรงจงูใจในการตัดสินใจใจลงทุนที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของนักลงทุนในกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 9(1), 328-340.

อรุณกมล เบ็ญพาด. (2562). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายพิธีการสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาลัยรามคำแหง.

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ (2564). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,16(3), 357-366.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G.S. (2005). Marketing research (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.

Ani, C. G. P., Kelmara, M. V., Daniel, A. C. & Reisoli, B. F. (2015). Financial literacy in Southern Brazil: Modeling and invariance between genders. Journal of Behavioral and Experimental Finance, 6, 1-12.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making (4th ed.). New York : John Wiley and Sons.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970, Autumn). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-608A.

OECD. (2020). Economic Surveys Thailand economic assessment of Thailand. The Assessment is Published under the responsibility of Secretary-General of the OECD. Retrieved on July 23, 2021, from https://www.oecd.org/economy/surveys/ - Economic-assessment-thailand overview-2020.pdf

Nunnally, J. C.(1987). Psychometric theory (2nd ed.). New York, NY : McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory New York : McGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2024

How to Cite

พงษ์พานิช ต. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 16(2), 35–45. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/264909