ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะกับคุณภาพการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ, คุณภาพการทำงาน, พนักงานสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะกับคุณภาพการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะโดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.15, S.D. = 0.47) พนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.17, S.D. = 0.53) และการพัฒนาสมรรถนะที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการทำงานโดยรวม ได้แก่ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (r = 0.74) ด้านการบริการที่ดี (r = 0.75) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (r = 0.73) ด้านการทำงานเป็นทีม (r = 0.80) และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (r = 0.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2565). สถิติบุคลากร. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565, จาก http://www.pd.msu.ac.th/pd4/hr-สถิติบุคลากร.
เข็มพร ศรีมงคล. (2560). ผลกระทบของขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักบัญชีสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ์ (1996).
ดวงพร อุ่นจิตต์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(1), 1-17.
ดวงรัตน์ ธรรมสโรช กฤษณวัต สมหวัง และมูฮัมมัดอัยมัน หะยีมะมิง. (2564). การพัฒนาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสระบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 5(43), 326-338.
ตุ๊กตา บุรีรัมย์. (2564). ผลกระทบของความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักวิชาการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 79-89.
นิตติญา ศิริจันทพันธ์. (2559). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประชัน หันชัยเนาว์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะองบุคลากรในการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ไทยพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 144-158.
พรวิภา สวนมะลิ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 98-110.
ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน วันทนีย์ แสนภักดี และสัญญา เคณาภูมิ. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 303-318.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565, จาก http://www.web.msu.ac.th/msucont.php?mn=mhistory.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
วริศนันท์ ศรีเอกบุญรอด และพฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี. (2559). ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร ความผูกพันต่อองค์กรและคุณลักษณะผู้ปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(1), 78-94.
ศรีสุภา นาคธน. (2561). สมรรถนะหลักและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 9(1), 65-79.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2549). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สว่างวงศ์ หมายเทียมกลาง และนภาพร วงษ์วิชิต. (2562). สมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(2), 290-314.
สิริวดี ชูเชิด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(1), 223-238.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี : บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
อรทัย วาระนุช. (2551). ผลกระทบของการมีส่วนร่วมในงานที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจเครื่องแต่งกายในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัญธิภา ภู่ดำรงค์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York : Houghton Mifflin.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York : McGraw-Hill.
Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois : Richard D. Irwin.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.
Sharma, P. (2017). Competence Development at the Workplace: a conceptual framework. JK
International Journal of Management and Social Science, 1(1), 39-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบัญชีและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว