การศึกษาความต้องการคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาแอปพลิเคชันค้นหาอู่ซ่อมรถผ่านโมบายสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน, ผู้สูงอายุ, อู่ซ่อมรถบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการคุณลักษณะ ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันค้นหาอู่ซ่อมรถผ่านโมบายสำหรับผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ตามทฤษฎีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย ผ่านทางช่องทางออนไลน์ เช่น Line, Facebook และแชร์ตามเพจผู้สูงอายุของแต่ละจังหวัด โดยมีผู้ตอบกลับมาจำนวน 429 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูลทั่วไปและสรุปความต้องการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-square) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีและส่วนประสมทางการตลาดด้วย Analysis of variance (ANOVA) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ การยอมรับเทคโนโลยี และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับความต้องการคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันค้นหาอู่ซ่อมรถผ่านโมบายสำหรับผู้สูงอายุ ในด้านรูปแบบ ขนาดตัวอักษร สีของพื้นหลัง และสัญลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยผู้สูงอายุมีความต้องการด้านการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ผู้สูงอายุเห็นว่าแอปพลิเคชันค้นหาอู่ซ่อมรถมีประโยชน์มาก ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการค้นหาติดต่ออู่ซ่อมรถที่อยู่บริเวณใกล้จุดเกิดเหตุ โดยที่ขั้นตอนการลงทะเบียน/ลงชื่อเข้าใช้งาน เมนู สัญลักษณ์รูปภาพภายในแอปพลิเคชันต้องชัดเจน และง่ายต่อการใช้งาน ด้านส่วนประสมทางการตลาด ผู้สูงอายุจะเน้นที่ขนาดปุ่มเมนูต้องใหญ่เหมาะ สําหรับหน้าจอสัมผัส ขนาดตัวหนังสือภายในแอปพลิเคชันมีขนาดที่ใหญ่พอดี อ่านมองเห็นง่าย และภายในแอปพลิเคชันควรมีไอคอนเบอร์ฉุกเฉิน เช่น 191 (เหตุด่วนเหตุร้าย) 1193 (รถเสียบนทางหลวง) เป็นต้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/275.
กิรณา สมวาทสรรค์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จารุวรรณ พิมพิค้อ และสมาน ลอยฟ้า. (2552). การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลขอนแก่น. Journal of Information Science, 27(1-3), 79-88.
เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพิลเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ชฎาธาร วรรณปะโพธิ์ ฐิติกาญจน์ แสงสุดตา และฐิติพร สำราญศาสตร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการดูแลผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชัน. การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชลธาร กาญจนโยธิน. (2557). การศึกษาขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมสาหรับการมองเห็นของผู้สูงอายุบนอุปกรณ์เคลื่อนที่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพัฒน์ ชลวณิช. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นที่มีต่อแอปพลิเคชัน LINE ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก http://203.131.210.100/ejournal/?page_id=570.
ธนา สวัสดี. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของผู้สูงอายุกลุ่มเบ-บี้บูมเมอร์. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 175-188.
ธนัชพร ราตรีโชติ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้อปพลิเคชันในการจองโรงแรมที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และนัทธมน มั่งสูงเนิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, 10(3), 548-566.
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ และสมาน ลอยฟ้า. (2560). รูปแบบการนำเสนอเว็บที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชการการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 276-292.
พงศธร ตันตระบัณฑิตย์ มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม และโอฬาริก สุรินต๊ะ. (2562). โมเดลการยอมรับเทคโนโลยี: หลักฐานการใช้เทคโนโลยี NodeMCU ในการควบคุมโรงเพาะเห็ดในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 42-54.
พรเทพ เฮง. (2561). แอปพลิเคชันของคนสูงวัย อนาคตสะดวกสบายบนปลายนิ้ว. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/economy/news/547818.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2563). การดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care). ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563, จาก https://bit.ly/2ESJ4JY.
พิมลอร ตันหัน. (2559). แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ. วาราสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(3), 55-62.
ภานุพงศ์ เสกทวีลาภ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจด้านพฤติกรรมการใช้ Cloud Storage ในระดับ Software-as-a-Service (SaaS) ของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มยุรี เสือคำราม โกวิทย์ รุ่งเสีรีรัช และณัฏฐชา อุบลนุช. (2561). ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางจิตวิทยา และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว: การสังเคราะห์งานวิจัยโดยใช้หลักการวิเคราะห์อภิมาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. 8 มิถุนายน 2561. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 1580-1598.
ลลิตา พุทธชาติ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (4P) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ฟังวิทยุกระจายเสียงในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 38 - 54.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2016. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blogpost_11.html.
วิชญ์พล เกตุชัยโกศล. (2558). การศึกษาขนาดของปุ่มที่เหมาะสมในโมบายแอปพลิเคชันสำหรับผู้สูงอายุ. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิทยาลัยการจัดการมหิดล. (2561). AWUSO Society 4.0 แก่แต่วัยหัวใจยังเก๋า. E-Magazine of College of Management Mahidol University (CMMU). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https://goo.gl/wq9AJF.
ศรุตา สายบัวต่อ และกนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต. (2562). รูปแบบการยอมรับพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้บริการสมาร์ทแอปพลิเคชันเพื่อสุขภาพ Gen X. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 78 -92.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สถิติประชากรศาสตร์. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
สุธาสินิ ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรสิทธิ์ บุญชูนนท์ และ กรวิช เหล่าพิทักษ์โยธิน. (2562). อิทธิพลของคุณภาพระบบสารสนเทศคุณภาพบริการ และคุณภาพข้อบังคับต่อความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการยอมรับ การใช้งานระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรกรมศุลกากรประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 14(1), 73 - 90.
อนัญญา เดชะพันธ์ และอติวิชญ์ มิตรงาม (2563). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับค้นหาสถานบริการอู่ซ่อมรถบนระบบแผนที่ออนไลน์ กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 86-104.
อรอนงค์ ทองกระจ่าง และชุติมาวดี ทองจีน. (2561). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารแบบบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันชั่น Shopee. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). A Bayesian analysis of attribution processes. Psychological bulletin, 82(2), 261-277.
Chapromma, J. (2017). Factors Affecting Consumer Choice of 24 Hours Fitness Center in Bangkok. M.B.A., Thammasat University.
Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319 - 339.
Elenia Cristina Carrasco Almao. (2018). Evaluating Mobile Apps Designed for the Elderly People Based on Available Usability and Accessibility Guidelines. Research paper submitted for the degree of Master of Science Interactive Digital Media. The university of Dublin.
Gong, S. M., & Lee, W. Y. (2017). Colour preference model for elder and younger groups. Journal of the International Colour Association, 18, 33 - 42.
Hart, T. A., Chaparo, B. S., & Halcomb, C. G. (2008). Evaluating website for older adults: adherenceto ‘senior-friendly’ guideline and end-user performance. Behaviour & Information Technology, 27(3), 191-199.
Hawthorn, D. (2003). How universal is good design for older users?. Proceedings of the 2003 Conference on Universal Usability. Canada: ACM SIGCAPH Computers and Physically Handicapped.
Homo, D. (2020). 4P MARKETING และ 4C MARKETING ส่วนผสมทางการตลาดที่นักการตลาดต้องรู้จัก. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.motiveinfluence.com/blog/194/4P-Marketing หรือ https://bit.ly/3eFT9rU
Khan, M. T. (2014). The concept of marketing mix and its elements (a conceptual review Paper). International Journal of information, business and management, 6(2), 95-107.
Kotler, P., & Dupree, J. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control, Test Item File. New York : Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Likert A. (1932). A technique for the measurements of attitudes. Archives of psychology, 140(22), 5-55.
Manafzadeh, E., & Ramezani, A. (2016). Identifying and prioritizing the effect of marketing mix from the customer’s perspective (4C) on the competitiveness of insurance companies using DEMATEL technique: A case study of Tehran Insurance Companies. Marketing and branding research, 3, 86 - 96.
MarketingOops. (2562). 12 มุมมองใหม่ “ผู้สูงวัย” อายุเป็นเพียงตัวเลข-ใช้เทคโนโลยีเก่ง-ช้อปออนไลน์-เรียนรู้สิ่งใหม่. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.marketingoops.com/reports/ behaviors/getting-older-our-aging-world-ipsos-research/.
National Institute on Aging. (2009). Making your website senior friendly tips from the National Institute on Aging and the National Library of Medicine. Retrieved December 20, 2013, from http://www.nlm.nih.gov/pubs/checklist.pdf.
Positioningmag. (2560). โอกาสจากนักท่องเที่ยววัยเก๋า. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/3gcNauy. Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York : Free Press
Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterionreferenced test item validity. Washington, D.C. : ERIC.
Sharma, J. (2012). Business statistics. New Delhi : Pearson Education India.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.
Yusof, M. F. M., Romli, N., & Yusof, M. F. M. (2014). Design for elderly friendly: Mobile phone application and design that suitable for elderly. International Journal of Computer Applications, 95(3), 28-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว