ผลกระทบของคุณภาพการให้บริการต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน การขายอาหารแบบส่งถึงที่ (Food Delivery) ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • วิสุก นวนวิจิด คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อำภาศรี พ่อค้า คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ขีดความสามารถทางการแข่งขัน

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างคุณภาพการให้บริการกับขีดความสามารถของร้านอาหารที่มีการขายอาหารแบบส่งถึงที่ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมให้บริการส่งอาหารถึงที่ (Food Delivery) ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 440 ราย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์  การถดถอยแบบพหุคูณ
      ผลการศึกษา พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมให้บริการส่งอาหารถึงที่ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความคิดเห็นต่อการคุณภาพการบริการโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน คือ ด้านสิ่งที่จับต้องได้ ด้านการตอบสนอง ด้านการให้ความเชื่อมั่น และด้านความเอาใจใส่ และมีระดับมาก 1 ด้านคือ ด้านความเชื่อถือได้ ความคิดเห็นต่อขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับขีดความสามารถในการแข่งขันพบว่า คุณภาพการบริการ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านสิ่งที่สามารถจับต้องได้ ด้านความเอาใจใส่ ด้านการให้ความเชื่อมั่น และด้านการตอบสนอง มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลการวิเคราะห์ผลกระทบของคุณภาพการบริการต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน พบว่าคุณภาพการบริการ ด้านความเชื่อถือได้  ด้านสิ่งที่สามารถจับต้องได้ ด้านความเอาใจใส่ และด้านการให้ความเชื่อมั่นส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของร้านอาหารที่มีการขายอาหารแบบส่งถึงที่ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในทิศทางเดียวกัน

 

References

กนกวรรณ นุชนารถ จิราภา พนารินทร์ ธนภรณ์ ปิยพิทักษ์บุญ ภัทธนัน สาระโชติ ธรณิศร นาคสัมพันธ์ ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และทาริกา สระทองคำ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 44-53.

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2020). รายงานจำนวนร้านค้าที่เข้าใช้บริการส่งอาหารและสิ่งของในแขวงสะหวันเขตเดือนตุลาคม 2020. 1-40.

กาญจนา นิกรสังขพินิจ. (2561). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารประจำทางบุรีรัมย์ – นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ Food Panda Application.วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 153-162.

จันทิราพร ศิรินนท์. (2559). กลยุทธ์ธุรกิจเพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการของธุรกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอพื้นบ้านเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐกรณ์ ยาวขันแก้ว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานบริการด้านวิศวกรรม. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ณัธภัทร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID - 19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(1), 92 – 106.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2561). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล ณัฐพงษ์ แก้วแสง นราเศรษฐ์ วรรณะวัลย์ จุฬารัตน์ เงินอ่อน และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการแอปพลิเคชั่นของฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-42.

พัชราภรณ์ ด้วงวิเศษ. (2560). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของลูกค้าเทสโก้โลตัสในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ระวิวรรณ เวียงตา. (2560). การรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจในการส่งเสริมการขาย และค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น Grab (Grab Food). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย. (2564). โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาด...คาดทั้งปี 2564 มูลค่าตลาดจัดส่งอาหารขยายตัวร้อยละ 18.4 – 24.4. 27(3256). ค้นเมื่อ19 สิงหาคม 2564, จาก http://www. kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/food-delivery-z3256.aspx

สมบูรณ์ สุริยวงค์ บุญมี พันธุ์ไทย เตือนใจ เกตุษา สุรศักดิ์ อมรรัตรศักดิ์ สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). วิจัยและสถิติทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ภาควิชาการประเมินและวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews เบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Kotler, P. (2003). Marketing management analysis, planning, implementation and control. New Jersey : A Simon & Schuster Company.

Sekaran, U. (2003). Research methods for business a skill-building approach. 4th ed. New York : John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/05/2022

How to Cite

นวนวิจิด ว., & พ่อค้า อ. (2022). ผลกระทบของคุณภาพการให้บริการต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน การขายอาหารแบบส่งถึงที่ (Food Delivery) ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 14(4), 52–66. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/249845