อิทธิพลของผลตอบแทนผู้บริหารต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ผลตอบแทนผู้บริหาร, ผลการดำเนินงานทางการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์หลัก คือ การทดสอบอิทธิพลของผลตอบแทนผู้บริหารต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2561 จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 210 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีของบริษัท รวมถึงข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การทดสอบข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าอิทธิพลเชิงบวกของผลตอบแทนผู้บริหารต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถนำข้อมูลไปพิจารณาสำหรับจ้างผู้บริหารที่มีความสามารถและพิจารณาผลตอบแทนที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้บริหารบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำข้อมูลการจ้างผู้บริหารไปประกอบการพิจารณาการลงทุน และแหล่งเงินทุนที่กิจการยื่นเรื่องขอกู้เงินสามารถนำข้อมูลค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้บริหารมาประกอบการตัดสินใจในการให้เงินทุนได้
References
เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่. (2560). แนวทางการวิเคราะห์วิจัยการบริหารจัดการอุดมศึกษาจากมุมมองของทฤษฎีตัวแทนด้านสังคมและวัฒนธรรม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11 (2), 409-420.
เกศชนก ใจกระจ่าง. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนและโครงสร้างความเป็นเจ้าของของคณะกรรมการบริษัท กับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ขนิษฐา วงศ์คำตา ศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ และสุวรรณ หวังเจริญเดช. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 12(1), 167-179.
ณัฐวุฒิ ทรัพย์สมบัติ และสุธาวัลย์ พฤกษ์อำไพ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลตอบแทนกรรมการ และความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนผู้บริหารกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 8(8), 29-42.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). ข้อมูลค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.setsustainability.com/download/c94vox6q7uzpgyk
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). รายงานประจำปี 2559. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.set.or.th/th/about/annual/files/annual_report_2559_thai_full.pdf
ธกานต์ ชาติวงค์. (2560). ทฤษฎีที่ใช้อธิบายงานวิจัยทางบัญชี: จากอดีตถึงอนาคต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 203-212.
ธัญญ์นรี แซ่โง้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทและสัดส่วนผู้บริหารหญิงกับผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เบญจพร โมกขะเวส และชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา. (2562). ผลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรรภูมิ, 5 (2), 313-327.
พชรณัชช์ แย้มเกษม. (2562). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนกรรมการอิสระของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มดัชนีย์ SET100. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พรรณวดี แซ่ฉั่ว และสมใจ บุญหมื่นไวย. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจครอบครัว ค่าตอบแทนผู้บริหารและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. KKBS Journal of Business Administration and Accountancy, 3 (2), 75-96.
พรรณิภา มั่นฤทัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนของคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรอนงค์ บุษราตระกูล จนัญญา เสถียรโชค ณรงค์ฤทธิ อัศวเรืองพิภพ สุนทรี เหล่าพัดจัน และศิรินุช อินละคร. (2559). การกําหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1465355783513.pdf
พัชรินทร์ ภัทรวานิชานนท์. (2553). ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัทธ์ธีรดา ห้วยหงษ์ทอง. (2559). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและอัตราส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานกับผลตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หมวดบริการ (การแพทย์). การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการเป็นเจ้าของแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการและลักษณะกิจการต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 13(1), 1-24.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 31(120), 2-4.
สุพรรณี มงคลนิพัทธ์ และพรทิวา แสงเขียว. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนวัดมูลค่าตลาดกับความสามารถในการทำกำไรและชำระหนี้และผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” (น.501-507). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564 จาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2093
สุพัสรา นราแย้ม และธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 26-33.
สุเมธ พฤกษ์ฤดี. (2555). การศึกษาการกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารตามผลการปฏิบัติงานในบริษัทหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทิพากุลย์ ศรประสิทธิ์. (2554). บรรษัทภิบาล ค่าตอบแทนผู้บริหาร และผลการดําเนินงานของกิจการ: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Dale-Olsen, H. (2012). Executive pay determination and firm performance empirical evidence from a compressed wage environment. The Manchester School, 80 (3), 355-376. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1467-9957.2011.02225.x
Heaney, R., Tawani, V., & Goodwin, J. (2010). Australian CEO remuneration. Economic Papers: A journal of Applied Economics and Policy, 29 (2), 109-127. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/j.1759-3441.2010.00060.x
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of financial economics, 3 (4), 305-360.
Kaewkerd, S. and Soonthonrot, P. (2020). The Relationship Between Corporate Governance and the Company’s Performance in the Stock Exchange of Thailand. Journal of Accountancy and Management, 12 (3), 14-23.
Kato, T. & Kubo, K. (2003). CEO Compensation and Firm Performance in Japan: Evidence from New Panel Data on Individual CEO Pay. New York : Department of Economics, Colgate University.
Merhebi, R., Pattenden, K., Swan, P. L., & Zhou, X. (2006). Australian chief executive officer remuneration: pay and performance. Accounting & Finance, 46 (3), 481-497. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1467-629X.2006.00178.x
Shapiro, S. P. (2005). AGENCY THEORY. Annual Reviews. 31 (1), 263-284. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564, จากhttps://www.annualreviews.org/doi/full/10.1146/annurev.soc.31.041304.122159
Walker, J. (2010). The use of performance-based remuneration: High versus low-growth firms. Australian Accounting Review, 20 (3), 256-264. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/j.1835-2561.2010.00098.x
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว