ผลกระทบของการจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มี ต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทย

ผู้แต่ง

  • จุฑาณัฐ สินธุศิริ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธีรพรรณ อึ๊งภากรณ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กาญจนา หินเธาว์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์, ความสำเร็จขององค์กร, ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทย จำนวน 129 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านความพอใจของทุกฝ่าย 2) การจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการดำเนินงานเป็นกระบวนการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านการจัดหาและใช้ปัจจัยทรัพยากร และด้านกระบวนการปฏิบัติงาน 3) การจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กร ด้านการจัดหาและใช้ปัจจัยทรัพยากร ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทยควรมีการจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในด้านการดำเนินงานเป็นกระบวนการ ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้า และด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรให้เน้นและให้ความสำคัญด้านการดำเนินงานเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการกำหนดกิจกรรมในการทำงานต่างๆ ให้สอดคล้องเข้าด้วยกัน โดยเชื่อมโยงกับทรัพยากรที่มีอยู่ในกิจการ ซึ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 , จาก http://www.dbd.go.th/main.php?filename=index

บรรจง จันทมาศ. (2547). การพัฒนางานด้วยระบบบริหารคุณภาพและเพิ่มผลผลิต (5th ed.). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (5th ed.). กรุงเทพฯ : สุริวิยาสาส์น.

สมใจ ลักษณะ. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. (2554). โลกของผู้ประกอบการ และการวางแผนกลยุทธ์สำหรับ SME (2nd ed.). กรุงเทพฯ : กรองอักษร.

สุจริต กุลธร (2538). การปรับตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมปั่นด้าย-ทอผ้า และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์/กรุงเทพฯ.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2004). Marketing research. John Wiley & Sons.

Black, K. (2006). Business statistics: for contemporary decision making. John Wiley & Sons.

David, A. G. (2009). General management: Processes and action. USA : John Wiley & Son.

Hewitt, A. L. (2005). Employee engagement. Retrieved Augustl 30, 2018, from https://ceplb03.hewitt.com/bestemployers/turkey/pages/emp_ eng.htm

Meirovitch, L. (2008). Fundamentals of vibrations. McGraw – Hill., 12, 6.

Nunnally, J. C., & Ira, H. B. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychological theory. New York, NY : MacGraw-Hill.

Swinney, R. (2011). Selling to strategic consumers when product value is uncertain : The value of matching supply and demand. Management Science, 57(10), 1737-1751.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/08/2020

How to Cite

สินธุศิริ จ., อึ๊งภากรณ์ ธ. ., & หินเธาว์ ก. . (2020). ผลกระทบของการจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มี ต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 12(2), 174–183. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/243970