อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการสวนน้ำจูราสสิค จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ยุพา พิมพ์สะอาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร, การรับรู้คุณภาพการให้บริการ, ความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทอสอบอิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ
ผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการสวนน้ำจูราสสิค จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากลูกค้าที่มาใช้บริการสวนน้ำจูราสสิค จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ 
ทดสอบความเป็นตัวแปรกลางโดยใช้หลักอง Baron & Kenny (1986) ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร การรับรู้คุณภาพการให้บริการและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณภาพการให้บริการและการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้คุณภาพการให้บริการเป็นตัวแปรกลางแบบ Partial Mediator 
ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง
ภาพลักษณ์องค์กรและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อการใช้บริการของลูกค้าต่อไป

References

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จุไรลักษณ์ จันทสีหราช. (2553). อิทธิพลของภาพลักษณ์บริษัทที่มีต่อความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้าบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจลูกค้า (Customer satisfaction survey handbook).(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ประชุมทอง พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป.

ภวัต วรรณพิณ. (2554). การประเมินคุณภาพการบริการของร้าน True Coffee สาขาในมหาวิทยาลัย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : บริษัทเอ็กซ์เปอร์เน็ต จำกัด.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 4. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (2558). ประวัติความเป็นมา. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558, จากhttps://tourismawards.tourismthailand.org/th/history.php

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

แสงเดือน วนิชดำรงศักดิ์. (2555). การรับรู้ภาพ ลักษณ์ และคุณภาพบริการ : กรณีศึกษา ธนาคารเกิยรตินาคิน

สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สวนน้ำจูราสสิค. (2558). ประวัติความเป็นมาของสวนน้ำ. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม, จาก https://www.jurassicwaterpark.com/

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ : อดุลพัฒนกิจ.

Aydin, S., and Ozer, G. K. (2005). The analysis of antecedents of customer loyalty in the Turkish mobile telecommunication market. European Journal of Marketing, 39(7/8), 910-925.

Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The moderator-mediator variable distinction in social psychological research: Conceptual, Strategic, and statistical considerations. Journal of Personality and Social Psychology, 51(6), pp. 1173-1182.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. 4th ed. USA: John Wiley & Son, pp 585.

Gronroos, C. (1990). Service Management and Marketing: A Customer Relationship Approach Wiley, Chichester. Human Communication Research. 20(4), 298-314.

Nunnally, J.C. (1967). Test and Measurement. New York: McGraw-Hill.

Viroj Jadesadalug. (2009). “Building innovative creation efficiency of furniture business in Thailand: and empirical research of its antecedents and consequences.” International journal of strategic management 9, 3: 36 - 58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/30/2018

How to Cite

พิมพ์สะอาด ว. ., & เจษฎาลักษณ์ ว. . (2018). อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการสวนน้ำจูราสสิค จังหวัดนครปฐม. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 9(1), 95–105. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/240719