ผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการองค์กรและประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารด้านพัสดุในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การจัดการองค์กร , ประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ , ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการองค์กรและประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารด้านพัสดุในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารด้านพัสดุในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 125 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การจัดการองค์กร ด้านกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ด้านระบบการปฏิบัติงาน และด้านค่านิยมร่วมมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และ 2) ประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด้านการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ดังนั้นกลยุทธ์การจัดการองค์กรและประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มีบทบาทและความสำคัญต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานทางด้านพัสดุในเชิงบวก เพราะการบริหารพัสดุเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การบริหารงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพการปฏิบัติในองค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญของการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน และองค์กรใดที่มีการสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรทางด้านพัสดุให้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถทางด้านพัสดุอย่างต่อเนื่อง ย่อมจะส่งผลที่ดีต่อตัวองค์กรและตัวของผู้ปฏิบัติงานทางด้านพัสดุ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
References
กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. (2560ก). พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ.
กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. (2560ข). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจ้างจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ.
ปวริศา แสงคำ. (2561). ผลกระทบของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐแนวใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางด้านพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(3), 116-128
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ท๊อป.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูประบบราชการ. (2562). กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาและการปฏิรูประบบราชการ. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จาก http://www.parliament.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). ประวัติและความเป็นมาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562, จาก http://www.mua.go.th/index2.html.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2562). รายงานประจำปี 2560, สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562, จาก http://www.mua.go.th/index2.html.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
อำนาจ วัดจินดา. (2553). การประเมินองค์กรด้วย McKinsey 7s. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.hrcenter.co.th/index.php?module columns detail&ColumnID647.
Aaker, D. V., Kumar, V., & Day, G. S. (2005). Marketing research. New York : John Wiley & Sons.
Black, K. (2006). Business statistics: for contemporary decision making (4th ed.). New York : John Wiley & Sons.
Hair, J. F., Black, W. C., Babine B. J., & Anderson, R. E. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey : Prentice Hall.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York : McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบัญชีและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว