Management model of Rice Plantation and Zoning Management by Adopting Cultural Mapping for Food Sustainable of Community Yang Pao (Omkoi)

Authors

  • Ntapat Worapongpat Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Pra Nakhon
  • Ratthana pongwiritthon Knowledge Transfer Center Wisdom and community innovation
  • Rungtiva Choothong Faculty of Business Administration, Department of Industrial Management, Rajamangala University of
  • Chananda Sinchuen Faculty of Management Science, UdonThani Rajabhat University
  • Piyakul Outtho Kalasin Primary Educational Service Area Office

Keywords:

Technology Transformations, Rice Plantation, Food security, Community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงโดยการจัดการองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงและการจัดการพื้นที่โดยใช้ Cultural Mapping ในการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่สูงเพื่อลดการทำลายการรักษาธรรมชาติสร้างความสมดุล คน น้ำ ป่า โดยรูปแบบการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) และการวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic Research) เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มทั้ง 2 ชุมชนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯซี่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างวิธีเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช่ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มโดยใช้ความสะดวก (Convenience sampling) และวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งใช้ระบบโควตาของแต่ละชุมชนไม่น้อยกว่า 20 รายการวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการแยกแยะให้เป็นหมวดหมู่และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยใช้เทคนิคเดลฟายตามกรอบแนวคิดที่ตั้งไว้ในลักษณะบูรณาการ ในประเด็นเนื้อหาต่าง ๆ ตามกิจกรรมที่ 1 ถึงกิจการรมที่ 3 ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ทบทวนบริบทพื้นที่และประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมที่ 2: การถ่ายทอดเทคโนโลยี และกิจกรรมที่ 3 การพื้นที่โดยใช้ Cultural Mapping ผลการวิจัยพบว่าสภาพทางภูมิศาสตร์บ้านยางเปาลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีภูเขาสูงสลับซับซ้อนและพื้นที่ราบต่ำบริเวณหุบเขาภูมิปัญญาสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ 1. ภูมิปัญญาการจักสาน การจักสาน 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากต้นรัก 3. ภูมิปัญญาข้าวต้มมัด (กะเหรี่ยง) 4. ภูมิปัญญาการทอผ้า 5. ปกาเกอญอ หรือกะเหรี่ยง มีความชำนาญในการปลูกข้าวทั้งข้าวไร่และข้าวนาโดยเฉพาะการทำนาขั้นบันได โดยจะมีความเชี่ยวชาญมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆลักษณะส่วนบุคคลและข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชุมชนเกษตรกรบ้านยางเปาแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สำคัญในหมู่บ้านยางเปาจากการซื้อและขอจากหน่วยงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอมก๋อย ส่วนใหญ่จะไม่มีแหล่งน้ำใต้ดินขนาดเล็กในไร่พื้นที่สูงโดยเฉลี่ย 21 ไร่ น้อยที่สุด 2 ไร่ สูงสุด 82 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 682 กิโลกรัมต่อไร่ (ความชื้น 12-14 %) อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 8 – 23 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการใช้แรงงานต่อไร่ซึ่งหมายถึงแรงงานคน แรงงานคนและเครื่องจักร ตั้งแต่กิจกรรมเตรียมดิน ดูแลรักษา จนถึงเก็บเกี่ยว มีหน่วยเป็นวันงานต่อไร่พบว่าอัตราการใช้แรงงานอยู่ระหว่าง 0.92 – 2.75 วันงานต่อไร่ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนและเครื่องจักรทุกกิจกรรมตั้งแต่เตรียมดินเพาะปลูกการให้น้ำพ่นสารเคมีป้องกันกาจัดวัชชพืชและศัตรูพืช ตัดพันธุ์ข้าวปนจนถึงเก็บเกี่ยว โดยมีอัตราเฉลี่ย 1 วันงานต่อไร่ อัตราการใช้ปุ๋ยเคมี 28 – 73 กิโลกรัมต่อไร่ (เฉลี่ย 35 กิโลกรัม) การวางแผนการจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่บ้านยางเปามีการกำหนดหรือตัดสินใจในกิจกรรมการผลิตตลอดจนถึงการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว โดยให้เกษตรกรระบุถึงความสำคัญในการำากิจกรรมการผลิตจำนวน 7 กิจกรรมได้แก่การตัดสินใจใช้เงินลงทุน การศึกษาข้อมูลเมื่อประสบปัญหาการกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรมการจัดหาปัจจัยการผลิตการพิจารณาว่าจ้างผู้รับจ้างการบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมต่างๆกลุ่มชุมชนเกษตรกรบ้านยางเปาให้ความสำคัญต่อการวางแผนการจัดการการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่บนพื้นที่สูง ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่บนพื้นที่สูง: ต้นทุนทั้งหมดของกลุ่มชุมชนเกษตรกรบ้านยางเปามีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2,246.47 บาทต่อไร่การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงโดยนำเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงโดยการจัดเก็บองค์ความรู้และการให้ความรู้แก่ชาวชุมชนยางเปา ได้แก่1. องค์ความรู้เรื่องเมล็ดข้าว 2. ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี 3. การแบ่งชั้นพันธุ์ข้าว 5. การใช้น้ำเกลือคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว 6. การทดสอบอัตราการงอกเมล็ดพันธุ์ข้าว 7. การเลือกพื้นที่และการเตรียมดินการจัดการพื้นที่โดยใช้ Cultural Mapping ในการบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อลดการทำลายการรักษาธรรมชาติ สร้างความสมดุล คน น้ำ ป่า โดยหมู่บ้านยางเปา ไม่มีแหล่งน้ำในการเพาะปลูกพืชไร่ โดยทำให้เกิดการทำไร่นาได้ปีละ 1 ครั้ง การบริหารจัดการพื้นที่เพื่อทำให้ประชากรในหมู่บ้านไม่ผิดกฎระเบียบ มีการประชุมร่วมกันเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดและการบริหารจัดกรพื้นที่ ได้แก่ 1. การจัดแบ่งพื้นที่โดยรักษากฎระเบียบอุทยานอย่างเคร่งครัด แบ่งพื้นที่เป็น คน น้ำ ป่า 2. การแบ่งพื้นที่หมู่บ้านทำเป็นเขตแดนพื้นที่บ้านของบ้าน (พื้นที่ถือครอง) แต่ละครัวเรือน 3. การแบ่งการเพาะปลูกพื้นที่สาธารณประโยชน์โดยมุ่งเน้นกิจกรรมร่วมกันของชุมชน 4. การกำหนดโทษของการผิดกฎระเบียบของหมู่บ้านเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน 5. การจัดสรรพื้นที่ใช้น้ำร่วมกัน โดยการแบ่งอย่างยุติธรรม ชุมชนร่วมกันแบ่งหน้าที่จัดการการนำไปใช้และประเมินผลโดยการพัฒนาระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานี้ ทำงานแบบฐานข้อมูลบนเว็บ (Web Based) ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็น3 กลุ่ม ได้แก่ 1.) ข้อมูลทั่วไปของเวปไซด์ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ 2.) แนวคิดองค์ประกอบของการจัดการความรู้เรื่องข้าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชน 3) วีดีโอการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้แก่ VTR สรุปข้าวไร่, Videoเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชน, เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชนหนองปลาซิว, ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกจัดการโดยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเอสคิวแอลเซิฟเวอร์ (Microsoft SQL Server Version8.0)และใช้รูปแบบอีอาร์ (E-R Model) เพื่ออธิบายการถ่ายทอดการจัดการความรู้เรื่องข้าวและเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชนเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน 2 กลุ่ม คือ 1.) ผู้ดูแลระบบ2.) บุคคลทั่วไปโดยผู้ดูแลระบบทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลสำหรับระบบได้แก่การจัดการการกำหนดชื่อผู้ใช้งาน (User) และรหัสผ่าน (Password) และจัดการข้อมูลภาพรวมของระบบสารสนเทศเวปไซด์แก้ไขและปรับปรุงให้องค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยเข้าถึงได้จาก https://www.lck-tk.com
แนวทางการพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง ดังนี้
1.) ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงควรมุ่งเน้น
2.) บริบทพื้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพต้องให้การสนับสนุนในการลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์การใช้แรงงานในลักษณะประณีต (Intensive Labor) ตั้งแต่การเตรียมดินเพาะปลูกดูแลรักษาจนถึงเก็บเกี่ยวการใช้สารเคมีป้องกันการจัดศัตรูพืชในระดับเพียงพอต่อการควบคุมความเสียหาย การใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมและผลผลิตเพื่อการต่อยอดในการเก็บเมล็ดพันธุ์ในการปลูกในฤดูการต่อไป
3.) หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นควรสนับสนุนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะการใช้ให้ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์และการทำการเกษตรในพื้นที่สูงซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ชุมชนยังไม่คุ้นเคยจะสามารถลดจำนวนการใช้เมล็ดพันธุ์ลงได้ค่อนข้างมากสอดคล้องกับผลการศึกษาที่มีการใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่มากเกินไปนอกจากนั้นเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องให้ชุมชนได้รับประสบการณ์สามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในระดับจุลภาคและมหภาคของประเทศไทยได้อย่างแท้จริง

References

พัทยา คลังวิเชียร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559, จาก http://oic.mnre.go.th/download/pdf/333.pdf

กรมพัฒนามลพิษ. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึงอะไร. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/en_pol_sustainable.html#s5.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

อเนก ชิตเกสร และ พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2554). การจัดการรายรับรายจ่าย และเพิ่มรายได้เชิงบรูณาการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยพายัพ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). คู่มือการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ เกษตรกรรม (Zoning)” ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก http://www.opsmoac.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8624.

กฤตภัค งามวาสีนนท์. (2558). ชนบทที่เคลื่อนไหวกับพหุกิจกรรมทางเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560, จาก https://prachatai.com/journal/2016/09/68091.

ชพิกา สังขพิทักษ์. (2559). การเกษตรเชิงพหุภารกิจ: แนวคิดในการกำหนดนโยบายนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและ การเจริญเติบโตสีเขียวของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560, จาก http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5920006.

นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2557). ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2560, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF.

พิพัฒน์ สุรยะ. (2552). การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว แก้ปัญหาขาดแคลนข้าวในขุมชนบนพื้นที่สูง. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก https://www.kehakaset.com/newsactivities_details.php?view_item=268.

วริศรา ทรัพย์เกษม และ สุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2559). ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อเทคโนโลยีการผลิตข้าวในศูนย์ข้าวชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560, จาก http://agscij.agr.ku.ac.th/phocadownload/2560-48-1/AgiScijournalVol48-1-e-book_012.pdf.

ศยามล เจริญรัตน์. (2557). ความมั่นคงทางอาหาร ป่า ชุมชน กับการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560, จาก http://www.cusri.chula.ac.th/backup/download/cluster5.pdf

ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). ธุรกิจชุมชน. สืบค้น 17 ตุลาคม 2560, จาก:http://www.mcc.cmu.ac.th.

สถาพร เก่งพานิช. (2560). การจัดการพื้นที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์วัดม่อนพระยาแช่ให้เป็นสถานที่แสวงบุญและท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2560, จาก http://www.arch.su.ac.th/conference_2016/images/proceedings/Proceedings_D07_SATHAPORN.pdf.

สุทิน ลี้ปิยะชาติ. (2556). โครงการธนาคารข้าวตามแนวพระราชดำริ. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2560, จาก http://elibrary.trf.or.th/.

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2559). เมล็ดพันธุ์ข้าว. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560, จาก www.ricethailand.go.th/info_riceknowledge.html.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดชัยนาท. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2560, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER5/DRAWER094/GENERAL/DATA0000/000886.PDF.

Downloads

Published

29-12-2020

How to Cite

Worapongpat, N., pongwiritthon, . R. ., Choothong, R. ., Sinchuen, C. ., & Outtho, P. . (2020). Management model of Rice Plantation and Zoning Management by Adopting Cultural Mapping for Food Sustainable of Community Yang Pao (Omkoi). Journal of Accountancy and Management, 12(4), 1–12. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/240298

Issue

Section

Research Articles