Effects of Organizational Flexibility on Operational Effectiveness of Information Technology and Communication Businesses in Thailand
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของความยืดหยุ่นองค์กรที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทย จำนวน 126 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความยืดหยุ่นองค์กร ด้านการปฏิบัติการ และด้านเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างความยืดหยุ่นองค์กร ด้านการปฏิบัติการ ให้สามารถปรับตัวได้อย่างต่อเนื่องมีการติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการเตรียมความพร้อมปรับตัวสำหรับการพัฒนาทักษะความสามารถในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งเป็นการตอบสนองต่อการแข่งขันและช่วยเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจให้เหนือกว่าธุรกิจอื่น ที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จและมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ ICT. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.dbd.go.th/main.php?filename=intro_moc3in1
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประภากร นิลผาย. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์กับผลการดําเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วงเดือน เชิงหอม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่กำหนดความต้องการชำระภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสานักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย. (2557) ICT_market share. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.atci.or.th/ ict_market1.php
อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี. (2552). ผลกระทบของศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์และศักยภาพทางด้านการสร้างความไว้วางใจที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, D. A., Kumer, V., & Day, G. S. (2005). Marketing research. New York : John Wiley & Sons.
Arnold, H. J., & Feldman, D.C. (1986). Organizational behavior. New York : McGraw-Hill,
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1978). Psychometric theory (2th ed.). New York : McGraw-Hill.
Rudd, J. M., Greenley, G. E., Beatson, A. T., & Lings, I. N. (2008). Strategic planning flexibility and firm performance : the moderating role of environmental dynamism. Journal of Business Research. 61, :99-108.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว