การตรวจสอบประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย โดยวิธี SUE, P/E และ B/M Anomalies
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย โดยศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลทางบัญชีแบบตัวแปรเดียว (Single Accounting Variable) และอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคือ แบบจำลองสำหรับข้อมูลทางบัญชี 1 ตัวแปร 3 แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองที่ใช้ข้อมูลกำไรสุทธิต่อหุ้นหลังปรับค่าแล้ว (The Standardized Unexpected Earnings หรือ SUE Effect Anomaly) แบบจำลองที่ใช้ข้อมูลอัตราส่วนราคาหลักทรัพย์ต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (The Price-Earnings หรือ P/E Anomaly) และแบบจำลองที่ใช้ข้อมูลอัตราส่วนมูลค่าตามบัญชีต่อราคาหลักทรัพย์ (The Book-to-Market หรือ B/M Anomaly) ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการตรวจสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย และเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขความมีประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ1 ตัวแปร ซึ่งในที่นี้คือ ข้อมูลทางบัญชี อันได้แก่ SUE, P/E และ B/M ในเวลาปัจจุบัน กับตัวแปรตาม คือ อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในอนาคต โดยข้อมูลทางบัญชีรวบรวมจาก ฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ปี 1992-2000 ผลจากการวิจัยพบว่า SUE, P/E และ B/M ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ นั่นคือ SUE, P/E และ B/M ไม่สามารถใช้ในการพยากรณ์อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีประสิทธิภาพในระดับกลาง (Semi-Strong Form) ผลการวิจัย ครั้งนี้สอดคล้องกับผลการตรวจสอบในกรณีของประเทศไทยในอดีต (Tirapat and Penpas, 1998; Meredith and Sektrakul, 2002; Sektrakul, 2003) ซึ่งสนับสนุนความมีประสิทธิภาพของตลาดทุนไทย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว