ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการบริการแบบมืออาชีพกับผลการดำเนินงาน ของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การบริหารการบริการแบบมืออาชีพ, ผลกาดำเนินงาน, สำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการบริการแบบมืออาชีพกับผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ การบริหารการบริการแบบมืออาชีพถูกกำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อผลการดำเนินงานผลการวิจัย พบว่า การบริหารการบริการแบบมืออาชีพมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้บริหารสำนักงานบัญชีควรนำองค์ประกอบและวิธีการบริหารการบริการแบบมืออาชีพไปใช้ในการปฏิบัติงาน และควรมีการวัดผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนาการบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งขันตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้การบริการได้อย่างมีคุณภาพจะนำธุรกิจสู่ความเจริญก้าวหน้า และสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรได้อย่างยั่งยืน
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2548). คู่มือผู้ประกอบการมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ซีพีบุ๊ค แสตนดาร์ด.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จารุวัลย์ ชัยคณารักษ์กูล. (2554). ผลกระทบของความสามารถของบุคลกรที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บชม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2556). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล ร่มโพธิ์. (2557). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2556). กูรูด้านบริการระดับโลก รอน คอฟแมน ชี้ 5 จุดแข็งรวมองค์กรเป็นหนึ่งเดียว. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.
พสุ เดชะรินทร์.(2548). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พสุ เดชะรินทร์. (2544). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วันชัย กำจรเมนุกูล. (2550). ผลกระทบของของศักยภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธนาคารทหารไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมิต สัชฌนุกร. (2547). การต้อนรับการบริการที่เป็นเลิศ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สายธาร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ฟูบุตร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริการเชิงรุกกับผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจสปาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). การจัดการองค์ความรู้ ความหมายของ Service Mind. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2558, จาก http://kmops.moph.go.th/index.php/km-test.
Aaker, A., Kumar, V., & Day C.S. (2001). Marketing research. (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.
Black, k. (2006). Business statistics for contemporary decision making (4th ed.). USA : John Wiley & Sons.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw Hill.
Nunnally, J. C., & Bernstein I. H. (1994). Psychometric theory. New York : McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว