ผลกระทบของการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 326 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ด้านการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านคุณภาพ 2) การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานด้านการหมุนเวียนงาน มีความสัมพันธ์ และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวม ด้านประสิทธิภาพ และด้านนวัตกรรม 3) การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวม ด้านประสิทธิภาพและด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ 4) การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยรวม ด้านคุณภาพ และด้านนวัตกรรม ดังนั้น ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน ต้องให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้น การส่งเสริมในการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน เช่น การฝึกอบรม การฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญ การเพิ่มปริมาณงาน การให้คำปรึกษาแนะนำ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการปฏิบัติงานสามารถนำพาองค์กรประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่นขันต่อไป
References
ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2554). คุณภาพบริการ : ความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในธุรกิจโรงแรม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณัฐชัย หอมาลัยกุล. (2554). การพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากร แผนกพิธีการขนส่งและบรรจุหีบห่อเพื่อการส่งออกฝ่ายช่าง บมจ.การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.
ธนะชัย มากพูน. (2556). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน โรงเรียนบ้านวังตลาดสมบูรณ์ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
รุ่งอรุณ วงศ์วุฒิ. (2555). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัท สยามฟาร์มาซูติคอ จำกัด. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
วิทยา ด่านธำรงกูล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร. (2557). การเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจเกษตรภายใต้บริบทของโลกในอนาคต. กรุงเทพฯ
สไบทิพย์ มงคลนิมิตร์. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบริการของโรงแรมดารินโอเรียนเต็ล. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. นครนายก : มหาวิทยาลัยศิปลากร.
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2556). รายชื่อสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยค้างคืน. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557, จาก http://mrd.hss.moph.go.th/display_document. jsp?id=D00000001121
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York : John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making (4th ed.). USA : John Wiley & Son,
Peggy, D. B., & Kristen L. B. (2010). Knowledge management, human resource management, and higher education : A theoretical model. Journal of Education for Business, 85, 330-335.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว