ผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุที่มีต่อความสำเร็จขององค์กร ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายพัสดุสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 93 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ด้านความถูกต้อง ด้านเทคโนโลยี และด้านความคุ้มค่า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จขององค์กรโดยรวม ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย สามารถนำไปเป็นแนวทาง ในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานพัสดุขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการบริหารงานพัสดุให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังเป็นแนวทางปฏิบัติให้การดำเนินงานด้านพัสดุขององค์กรสามารถปฏิบัติงานให้ บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนต่อไป
References
กรกนก ทิพรส. (2543). องค์การและการจัดการ. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
เบญญาภา ยาโตปมา และพิพัฒน์ ไทยอารี. (2558). การบริการพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. ฉบับที่ 3 เมษายน - กรกฎาคม 2558.
เบญจมาศ สมสุระ. (2557). ผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจผลิตอาหารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). แผนแม่บทบริหารทรัพย์สินด้านพัสดุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี 2554 – 2558. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รณฤทธิ์ ไชโยแสง. (2555). การบริหารการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันแม่โขงยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรานนท์ ตั้งจักรวรานนท์. (2547). เป้าหมายและวิธีกำหนดเป้าหมาย. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
วิจารณ์ พานิช. (2558). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อกำกับติดตามการจัดการอุดมศึกษาตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษาและกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 –2565). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559, จาก http://www.mua.go.th
สุกัญญา ศรีทับทิม. (2555). กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: กระแสหลักของการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานภาครัฐ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2558, จาก http://www.lppreru.com
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S., (2005). Marketing Research. New York: John Wiley & Son.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4th ed.). New York: John Wiley & Son.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nded.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว