ผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศิราพร แซ่ตั้ง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อุษณา แจ้งคล้อย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

เทคนิคการบัญชีบริหารสมัยใหม่, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs)   จังหวัดนครราชสีมา โดยกรอบแนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคนิคการบัญชีบริหารสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่ทาง การบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs การวิจัยนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้ธุรกิจ SMEs จังหวัดนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้น 514 แห่ง โดยมีจำนวนผู้ตอบกลับแบบสอบถาม 195 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 37.93  และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาระดับการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ในธุรกิจ SMEs และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครราชสีมา มีการนำเทคนิคการบัญชีบริหารสมัยใหม่ ทั้ง 6 เทคนิคที่ทำการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน ได้แก่ การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) กลยุทธ์การบริหารแบบญี่ปุ่น (Kaizen) การวัดผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ  (BSC) ตัวชี้วัดการดำเนินงาน (KPI) การเทียบเคียงองค์กรที่เป็นเลิศ (Benchmarking) และ การสร้างคุณค่าในการบริหาร (VBM) ตามลำดับ และผลการทดสอบผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs จังหวัดนครราชสีมา พบว่า การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ในด้านการควบคุม ด้านการตัดสินใจ และด้านการสร้างคุณค่าในการบริหาร ส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ไม่พบผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ในด้านการวางแผนต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นผลกระทบในเชิงบวกต่อการบริหารงานโดยรวม เมื่อมีการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ SMEs จึงควรส่งเสริมและจัดอบรบให้ธุรกิจ SMEs มีความรู้ในเรื่องการบัญชีบริหารสมัยใหม่และเทคนิคการบัญชีบริหารต่าง ๆ  เพื่อให้ธุรกิจ SMEs มีความรู้ความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Author Biographies

ศิราพร แซ่ตั้ง, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

 นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

080-4784592
O_L_I_P@hotmail.com

156 ถนนเซนต์เมรี ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.นครราชสีมา 30000

อุษณา แจ้งคล้อย, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

 อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

References

กชกร เฉลิมกาญจนา. (2544). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทรานี สงวนนาม. (2555). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

โชติ บดีรัฐ. (2558). เทคนิคการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล ร่มโพธิ์ และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2557). เครื่องมือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ. กรุงเทพฯ:บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

มนูญชัย ธีระอกนิษฐ์. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อ ความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สารทูล บัวขาว. (2549). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ประเภทการผลิตสินค้า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรชัย กลางพระเนตร. (2544). ปัจจัยในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุนรักษ์ รัตนสานส์สุนทร. (2552). การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการบัญชีบริหารของธุรกิจผลิตเลนส์แว่นตา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร : กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงมณี โกมารทัต. (2550). “วิวัฒนาการทางบัญชีบริหาร.” วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์,4, 114. 13-37.

Aaker, D. A. V. Kumar, and G. S. Day. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley and Sons.

Koller, T. (1994). “What is value-based management?” McKinsey Quarterly, 3, 1. 87-101.

Elmore, Peterson, and E. Grosvenor, Plawmam. (1953). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.

Garrison, R.H. & Noreen E. W. (2000). Anagerial Accounting. New Jersey: Prentice-Hall.

John, D. Millet. (1954). Management in the Public Service. New York: Mc Graw Hill Book, Company.

Krejcie, R.V.and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement, 30, 3. 607-610.

Nunnally, J. C. and Bernstein, I. (1994). Coefficient Alpha Cortina The assessment of reliability. Psychometric theory, 3, 1. 248-292.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/30/2019

How to Cite

แซ่ตั้ง ศ., & แจ้งคล้อย อ. (2019). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 11(3), 155–167. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/235571