ระบบการจัดการสารสนเทศของการลงทุนธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร และผลการดำเนินงานของธุรกิจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการทดสอบและพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างระบบการจัดการสารสนเทศของการลงทุนธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 384 ราย ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้โมเดลสมการโครงสร้างวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในโมเดล ผลการวิจัย พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างระบบการจัดการสารสนเทศของการลงทุนธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล Chi-square=83.971, df=113, p=0.981, CMIN/DF=0.743, GFI=0.977, AGFI=0.965, CFI=1.000, RMR=0.020 และ RMSEA=0.000 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า องค์ประกอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการให้บริการ และประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ เพื่อการพัฒนาโมเดลระบบการจัดการสารสนเทศของการลงทุนธุรกิจ SMEs และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้เป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนพัฒนาองค์ประกอบสำคัญในการลงทุนและบริหารจัดการธุรกิจ SMEs เพื่อนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
References
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และ
พฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561) . บทบาทการส่งเสริมธุรกิจ SMEs สู่ยุค 4.0. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
จาก http://sme.go.th/th/index.php/component/search/cms.php?modulekey=118.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561) . สถิติการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
จาก http://www.sme.go.th/th/index.php? 22-8-61 The Office of SMEs Promotion (OSMEP)
Campbell, D., Datar, S. M., Kuip, S. L. and Narayanan, V. G. (2015). Testing Strategy with Multiple Performance
Measures: Evidence from a Balanced Scorecard at Store24. Journal of Management Accounting Research,
27(2) : 39-65.
Dhaka, V. P. and Nahar, P. (2014). A Review : Benefits and Critical Factors of Customer Relationship Management.
International Journal of Advanced Networking and Applications. 6(1) : 2191-2194.
Kaplan, R. S., and Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California Management Review,
39(1) : 53-79.
Khan, M. K. (2015). Factors Essential for Longevity Among Dow Jones Index Organizations : QCA Analysis.
The Journal of Developing Areas, 49(6) : 469-479.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological
Measurement, 30 : 608-610.
Mittal, S. and Gera, R. (1012). Relationship Between Service Quality Dimensions and Behavioral Intentions:
An Sem Study of Public Sector Retail Banking Customers in India. Journal of Services Research, 12(2) : 57-73.
Olszak, C. and Bartus, T. (2013). Multi-Agent Framework for Social Customer Relationship Management Systems.
Issues in Informing Science and Information Technology, 10 : 367-387.
Zeithaml, V. A., Berry, L.L., and Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality.
Journal of marketing, 60(2) : 31-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว