อิทธิพลของความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม และปฏิสัมพันธ์ในทีมที่มีต่อคุณภาพ การบริการด้านสินเชื่อผ่านความขัดแย้งด้านอารมณ์และความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
ความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม ปฏิสัมพันธ์ในทีม ความขัดแย้งด้านการทำงาน คุณภาพการบริการด้านสินเชื่อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม และปฏิสัมพันธ์ในทีมที่มีต่อ คุณภาพการบริการด้านสินเชื่อของเจ้าหน้าที่สินเชื่อผ่านความขัดแย้งด้านอารมณ์ และความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตประกอบการภาคกลางต่างจังหวัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรเป้าหมาย จำนวน 134 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตประกอบการภาคกลางต่างจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัย พบว่า 1) มีความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก มีปฏิสัมพันธ์ในทีมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความขัดแย้งด้านอารมณ์อยู่ในระดับน้อย มีความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และมีคุณภาพการบริการด้านสินเชื่ออยู่ในระดับมาก 2) ความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีมมีอิทธิพลทางลบต่อความขัดแย้งด้านอารมณ์ และมีอิทธิพลทางบวกต่อความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์ 3) ปฏิสัมพันธ์ในทีมมีอิทธิพลทางลบต่อความขัดแย้งด้านอารมณ์ และมีอิทธิพลทางบวกต่อความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์ 4) ความขัดแย้งด้านอารมณ์มีอิทธิพลทางลบต่อคุณภาพการบริการด้านสินเชื่อ และ 5) ความขัดแย้งด้านการทำงานเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพ
การบริการด้านสินเชื่อ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีมใน
การให้บริการสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และพัฒนาการให้บริการด้านสินเชื่อที่มีคุณภาพและเป็นเลิศต่อไป
References
ณัฐดนัย คลล้ำ. (2553). คุณภาพการให้บริการด้านสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาชัยนาท.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2561). นโยบายกำกับดูแลกิจการ,จรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ,ธนาคารกรุงเทพวันนี้,
ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2561, จาก http://www.bangkokbank.com/
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2561). คุณภาพการบริการด้านสินเชื่อ, ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561,
จาก http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุริยาสาสน์.
ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยตลาด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัญญาพล แข็งแอ. (2552). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทอุตสาหกรรม
น้ำตาลอีสาน จำกัด.” การศึกษาค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์. (2017) . เจาะลึกเศรษฐกิจไทยปี 2017. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2561, จาก
https://www.scbeic.com/th/detail/product/3173
สุจิรา บัวใหญ่. (2551). การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมอบอำนาจในงาน พฤติกรรมในการทำงาน และคุณภาพการให้บริการ:
กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เขตประชาชื่น. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Barclay, D. (1991). Interdepartmental conflict in organizational buying : the impact of organization context.
Journal of Marketing Research (JMR). 26(2): 145-59.
Daft, R.L. (1997). Management. Orlando: Florida, the Dryden press.
Gaski, J.F. (1984). The theory of power and conflict in channels of distribution. Journal of Marketing
Research (JMR). 48(3): 9-29.
Gaski. J.F. (1984). The theory of power and conflict in channel of distribution. J Mark 1984; 48(3): 9-29.
Gregory, M.R. and Aviv S. (2004). Interorganizational task and emotional conflict with international channels
of distribution. Journal of Business Research . 57 (9): 942-950.
Kotler, P. (1997). Marketing management : analysis, planning, implementation and control. 9th ed.
New Jersey : A simon & Schuster Company.
Marquis, B.L. & Huston, C.J. (1987). Management Decision Making for Nurse: 101 Case Studies.
Philadelphia: J.B. Lippincott.
Menon A, Bharadwaj S.G., Howell R. (1996). The quality and effectiveness of marketing strategy : effects of functional
and dysfunctional conflict in intra-organizational relationships. J Acad Mark. Sci. 24(4): 299-313.
Moorhead, G. & Griffin, R.W. (2001). Organizational behavior : managing people and organizations. 6th ed.
Boston : Houghton Mifflin.
Nunnally, J.C. (1967). Test and Measurement. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว