Effects of Continuous Learning Excellence on Job Efficiency of Employees Provincial Waterworks Authority Region 8
Keywords:
ความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการทำงาน บุคลากรการประปาส่วนภูมิภาค เขต 8Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 จำนวน 229 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 91.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาความรู้และศักยภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้านการบูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม ดังนั้น บุคลากรควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาความรู้และศักยภาพการทำงาน มีการบูรณาการความรู้เกิดเป็นคู่มือปฏิบัติงาน และสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ในงาน เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานที่ได้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนงานอีกด้วย และช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรประสบผลสำเร็จ มีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
References
จาก https://reg8.pwa.co.th.
กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เอ๊กซเปอร์เน็ท,
กองทรัพยากรบุคคล. (2559). อัตรากำลังพนักงานและลูกจ้างการประปาส่วนภูมิภาค ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2559.
ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559 จาก https://hr.pwa.co.th.
จารุวรรณ มหาวงศ์. (2554). แนวทางในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของบุคลากรส่วนการคลังในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ธนภาส อยู่ใจเย็น. (2553). การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อ
พัฒนานวัตกรรมด้านการตลาดและพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับพนักงานบริษัทประกันชีวิต. วิทยานิพนธ์ ปร.ด.
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประทีป วจีทองรัตนา. (2558). ประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตจังหวัดนครราชสีมา.
สมาคมนักวิจัย, 20(1), 85-94.
ปิยะนันท์ ประครอง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการเรียนรู้กับคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถานศึกษา
สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.
รังสรรค์ มณีเล็ก, วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, พิศเพลิน เขียวหวาน,สุจิตรา หังสพฤกษ์,
บุญศรี พรหมมาพันธุ์, นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม,ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ และกัญจนา ลินทรัตนศิริกุล .(2553).
การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุริยงค์ วงศาพัฒนานันท์. (2557). ผลกระทบของการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องที่มีความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษี
อากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาพร แจ่มศรี. (2554). ผลกระทบของการเรียนรู้ทางการบัญชีอย่างต่อเนื่องที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัด
นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวรรณา วิริยะประยูร. (2552). พฤติกรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน.ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560,
จาก https://www.mea.or.th/upload/download/file_746e85c350e52706f3babc6bd04361c9.pdf.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : วี พริ้น.
สมบัติ ท้ายคำเรือ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, D.A., Kumar, A & Day, G.S. (2001). Marketing Research. 7th ed. New York : John Wiley and Sons.
Black, K. (2013). Applied Business Statistic Making Better Business Decisions. 7th ed. Singapore : Wiley.
Buntat, Y., Puteh, N.A., Azeman, S.H., MaNasir, A.N., Iahad, N. & Aziz, M.A. (2013). The Need of Lifelong
Learning toward Learning Community Development in Malaysia. Procedia Social and Behavioral Sciences, 93,
1541-1545.
Nicolau, I. & Musetescu, A. (2012). The influence of lifelong programs on the organizational culture and Performance.
Procedia Social and Behavioral Sciences, 46, 1565-1569.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว