การวิเคราะห์บทบาทของการพัฒนาทางการเงินต่อการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย
คำสำคัญ:
การพัฒนาทางการเงิน, การท่องเที่ยว, การเติบโตทางเศรษฐกิจ, สินเชื่อ, ปริมาณเงินตามความหมายกว้างบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของการพัฒนาทางการเงินต่อการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย ด้วยข้อมูลแบบพาแนล (Panel Data) ตัวชี้วัดการพัฒนาทางการเงิน จำแนกเป็นตัว 2 ตัว ได้แก่ สินเชื่อรวมภายในประเทศกับปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ใช้ข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 2000-2016 แบ่งออกเป็น 4 แบบจำลอง ได้แก่ กลุ่มประเทศรายได้สูง กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง กลุ่มประเทศรายได้ต่ำ และรวมประเทศในทวีปเอเชีย ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์บทบาทของการพัฒนาทางการเงินต่อการท่องเที่ยว ด้านสินเชื่อรวมภายในประเทศ พบว่า ทุกแบบจำลองเป็นแบบจำลอง Random Effects Model และด้านปริมาณเงินตามความหมายกว้าง พบว่า มีแบบจำลอง Random Effects Model คือ แบบจำลองของประเทศรายได้ปานกลาง ประเทศเอเชียรวม ส่วนแบบจำลอง Fixed Effects Model คือ แบบจำลองประเทศรายได้สูง ประเทศรายได้ต่ำ และผลการวิเคราะห์บทบาทของการพัฒนาทางการเงินต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านสินเชื่อรวมภายในประเทศ พบว่า ทุกแบบจำลองเป็นแบบจำลอง Fixed Effects Model และด้านปริมาณเงินตามความหมายกว้าง พบว่า มีแบบจำลองเป็นแบบจำลอง Fixed Effects Model คือ แบบจำลองประเทศรายได้สูง ประเทศรายได้ต่ำ ส่วนแบบจำลอง Fixed Effects Model คือ แบบจำลองประเทศรายได้ปานกลาง ประเทศเอเชียรวม สรุปจากผลการวิเคราะห์บทบาทของการพัฒนาทางการเงินต่อการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย โดยใช้ตัวชี้วัดการพัฒนาทางการเงินได้แก่ สินเชื่อรวมภายในประเทศและปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ซึ่งส่งผลต่อการต่อการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ชิราภรณ์ วงศ์แสน. (2556). ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้บทบาทของการพัฒนาทางการเงิน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พันธ์ศักดิ์ ทองเวโรจน์. (2556). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทางการเงินกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิไลลักษณ์ โชติภาภรณ์. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทางการเงินกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการเงินของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพงศ์ พันธุ์ไชย. (2558). ค่าเงินบาทกับระบบเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-074.pdf
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). ภาวะเศรษฐกิจโลกและวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bot.or.th/Thai/Landing/Pages/Rama_10.aspx
Clement Mathonnat, A. M. (2018). Financial development and the occurrence of banking crises. Journal of Banking and Finance. 96(1), 344-354.
Cesar C., L. L. (2003). The direction of causality between financial development and economic growth.Journal of Development Economics. 72 (1), 321-334.
Goldsmith, R.W. Financial Structure and Development (1969), New Haven: Yale University Press.
Gu, X., Li, G., Chang, X., & Guo, H. (2017), Casino tourism, economic inequality, and housing bubbles. Tourism Management, 62, 253–263
Haiyan Song, S. L. (2009). Impacts of the Financial and Economic Crisis on Tourism in Asia. Journal of Travel Research. 49(1), 16– 30.
Jin, L., Jiaping, Q. & Chi, W. (2017), Asset tangibility, cash holdings, and financial development. Journal of Corporate Finance. S0929-1199 30543-6
Ramphul, O. (2016), The relationship between tourism, financial development and economic growth in India. Future Business Journal. 3(2017)9–22
Sheng, M., & Gu, C. (2018). Economic growth and development in Macau (1999–2016): The role of the booming gaming industry. Cities, 75, 72–80
Sergio Sanplippo-Azofra, B. T.-O. & Marõa Cantero-Saiz, C. L.-G. (2017). Financial Development and Banks Loan Supply in Developing Countries. Journal of Macroeconomics. 55(C), 215-234
Tsangyao, C. (2002), Financial development and economic growth in Mainland China: a note on testing demand-following or supply-leading hypothesis. Journal Applied Economics Letters. 9, 2002 - 13
Zimmerhackel, J. S., Kragt, M. E., Rogers, A. A., Ali, K., & Meekan, M. G. (2018). Evidence of increased Economic benefits from shark-diving tourism in the Maldives. Marine Policy. 100, 21-26
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว