การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี

Main Article Content

สามารถ ถิ่นสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน ได้โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์สร้างด้วย Google Site 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/80.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ถิ่นสูง ส. (2024). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 6(1), 69–83. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/266979
บท
บทความวิจัย

References

กุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว. (2564). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บด้วย Google Site เรื่อง โครงงานอาชีพเห็ดสวรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2554). การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2541). การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองและการสร้างสรรค์ความรู้: มุมมองทางการศึกษานอกระบบ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 15(12), 9-19.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M126972/Darunnapa%20Students.pdf

บุญญานี เพชรสีเงิน. (2560). สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแบบสำรวจพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

มะลิ จรรยากรณ์. (2563). การพัฒนาห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Sites รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการอาชีพ รหัสวิชา 30001-2001. พัฒนวารสาร, 7(2), 388-391.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562. https://bsq.vec.go.th/Portals/9/Course/20/2562/20100/20111v8.pdf

อภิญญา สุขบัว. (2563). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ทัศนศิลป์ สะท้อนชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพญาไท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.