การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด: ศึกษากรณีโครงการเก้าเลี้ยวโมเดล

Main Article Content

ชยุต มารยาทตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค รวมถึงศึกษาผลลัพธ์ ความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานและขับเคลื่อนของด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในระดับประสิทธิผลประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและส่วนรวม เพื่อนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้อนกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา โดยผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนทั้งสิ้น 20 คน กลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณโดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


การขาดการสนับสนุนจากชุมชน การขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน การขาดทรัพยากร ทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ติดยาเสพติด และการขาดข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ จำนวน 80 คน พบว่า ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณีโครงการเก้าเลี้ยวโมเดลในภาพรวมอยู่ระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.778 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า
ผลประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผลการประเมินความสอดคล้องของเป้าหมายการดำเนินงานกับประโยชน์ที่ได้รับ (Relevance) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.742 รองลงมา คือ ผลการประเมินประสิทธิผลหรือผลสำเร็จของการดำเนินงาน (Effectiveness) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.731 อันดับที่ 3 คือ ผลการประเมินผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน (Impact) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.798 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินุกูล หลวงอภัย (2564) การพัฒนาแนวทางในการป้องกันตนเองจากปัญหายาเสพติดของนักเรียนนายสิบตำรวจ วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 169-175.

ฐาปิตา ไชยวัง. (2564). การประเมินผลโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติด ในจังหวัดลำปาง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นิภัทร์ มีมุสิทธิ์. (2566). การแก้ไขปัญหาบุคคลผู้ทีความผิดปกติทางจิต โดยใช้โครงการ “เก้าเลี้ยวโมเดล. นครสวรรค์: สถานีตำรวจภูธรแม่วงก์.

พัชรา สินลอยมา และคณะ. (2566). ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือ PSDP-Hub. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

รณกฤต จิตต์ธรรม. (2563). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

ศักดิ์ หมู่ธิมา บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2561). การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2),13.

สัญญา เคณาภูมิ. (2560). การประเมินผลนโยบายสาธารณะ: หลักการ รูปแบบ และวิธีการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(1), 33-48.

สิริวิท อิสโร (2563) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านคลองทราย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). แผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ONCB_PLAN/Policyactionplan/O04%.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). นโยบายและแผนแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2567 จาก https://www.oncb.go.th/Home/Pages/ONCB_PLAN/Policyactionplan.as

University of California Press, xii. Carl E. Van Horn and Donald S.