กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process)


       กระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
       1. ส่งบทความผ่านระบบ Thaijo
       https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jpsmbu

       2.การตรวจสอบรูปแบบบทความเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการ (1 สัปดาห์):
       บทความที่ถูกส่งเข้ามาจะได้รับการตรวจสอบความสมบูรณ์โดยกองบรรณาธิการ ดังนี้
       -รูปแบบการจัดหน้า
       -การใช้ภาษา
       -การคัดลอกเลียนแบบ (ไม่เกินร้อยละ 25)
       -ความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง
       -รูปแบบการเขียนอ้างอิง
       -ความซ้ำซ้อน
       หากบทความดังกล่าวมีรูปแบบไม่เป็นไปตามที่วารสารฯ กำหนด หรือมีอัตราการซ้ำซ้อนสูงกว่าที่วารสารฯ กำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับบทความดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาซึ่งจะแจ้งผู้ประพันธ์ให้รับทราบต่อไป
       3.ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน (Peer Review) พิจารณาความถูกต้อง-เหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (1-2 สัปดาห์):
       บทความที่ผ่านการพิจารณาขั้นที่ 1 แล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2-3 ท่าน เพื่อพิจารณาบทความดังกล่าวในรูปแบบ Double-Blind ก่อนดำเนินการทาบทาม และจัดส่งบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป โดยระดับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจะประกอบด้วย
          3.1 สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Accept)
          3.2 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย (Accept with minor revision)
          3.3 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมาก (Accept with major revision)
          3.4 ไม่สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Reject)
       4. ส่งผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ (1-2 สัปดาห์):
       เมื่อกองบรรณาธิการได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการพิจารณาและสรุปผลอีกครั้ง โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับผลเป็น Accept หรือ Accept with minor revision ส่วนบทความที่ได้รับผลเป็น Accept with major revision บรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด และบทความที่ได้รับผลเป็น Reject จะไม่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ในวารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ โดยจะส่งผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ ตามขั้นตอนดังนี้
          4.1 ส่งผลการประเมินให้ผู้เขียนหลังได้รับผล Peer ไม่เกิน 7 วัน
          4.2 ส่งผู้เขียนปรับแก้และส่งบทความฉบับแก้ไขผ่านระบบ ภายใน 14 วัน
       5. ผู้เขียนส่งไฟล์บทความฉบับแก้ไขเข้าระบบของวารสาร (1-2 สัปดาห์):
       บทความที่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกองบรรณาธิการ (ถ้ามี) โดยผู้เขียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วน และชี้แจงการปรับแก้ แล้วส่งบทความที่ปรับแก้แล้ว และเอกสารชี้แจงการปรับแก้กลับมายังกองบรรณาธิการภายในเวลาที่กำหนด การพิจารณาบทความฉบับปรับแก้ ดังนี้
          5.1 ตรวจสอบผลการปรับแก้รอบละไม่เกิน ไม่เกิน 7 วัน
          5.2 ผู้เขียนปรับแก้ รอบที่ 2 ภายใน 7 วันขอสงวนสิทธิ์ไม่ออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ในกรณีผู้เขียนไม่ปรับแก้และไม่มีคำชี้แจงต่อบรรณาธิการ
       6. ออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์
       เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความที่ปรับแก้แล้ว จะดำเนินการพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง หากบทความดังกล่าวได้รับการแก้ไขครบถ้วน จะรับรองการตีพิมพ์ และนำเข้าสู่กระบวนการจัดอาร์ตเวิร์คต่อไป ใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 7 วัน
       7. ตรวจบทคัดย่อ/Abstract (1-2 สัปดาห์)
       ก่อนดำเนินการจัดรูปเล่มเพื่อทำการเผยแพร่กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทคัดย่อ พิสูจน์อักษรและตรวจรูปแบบ ไม่เกิน 7 วัน และผู้เขียนปรับแก้และส่งบทความฉบับแก้ไข ผ่านระบบฯ ภายใน 7 วัน
       8. จัดพิมพ์และเผยแพร่บทความ
       เมื่อบทความผ่านประบวนการทั้งหมดที่วารสารกำหนดจะดำเนินการเผยแพร่ตามกระบวนการของแต่ละฉบับผ่าน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jpsmbu