ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระทรวงมหาดไทยมีแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2566 ด้านการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำมาสู่การจัดกิจกรรมเพื่อคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่นระดับจังหวัด พื้นที่ที่ทำการศึกษาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย และที่ได้รับรางวัลหมูบ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่นของจังหวัดใน พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น 2) ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยรุ่น รวม 15 คน ร่วมกับการจดบันทึกการสังเกต ตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านบุคคลและแหล่งข้อมูล จากนั้นใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแต่ละกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มผู้นำชุมชนมีความเข้าใจในระดับการสังเคราะห์ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนทำงานมีความรู้ความเข้าใจในระดับความเข้าใจ ส่วนกลุ่มวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจในระดับความจำ แสดงให้เห็นว่าบุคคลมีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันตามแต่ระดับการนำความรู้ความเข้าใจไปใช้งาน การประกอบอาชีพ และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 2) กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยทำงาน มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ส่วนกลุ่มวัยรุ่นมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าคือมีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแต่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่าคนในแต่ละชุมชนอาจมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันได้ แต่เมื่อกลุ่มวัยรุ่นเป็นอนาคตของชุมชนและประเทศจึงควรมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยในช่วงเวลาที่กลุ่มวัยรุ่นเข้าร่วมได้ เพื่อปรับเปลี่ยนให้มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). แผนบูรณาการการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย. เรียกใช้เมื่อ 11 มกราคม 2567. จาก https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/ mso_web/download/article/article_20160805124952.pdf
กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2566) ของกระทรวงมหาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคา 2567. http://www.ppb.moi.go.th/midev02/upload/MOI%20Plan%20(2566)%20-.pdf.
กานต์ ลายคํา. (2563). ความไม่มั่นคงทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทย. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 1(2), 21-37.
ชูเกียรติ ผลาผล และคณะ. (2562). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่นำไปสู่แบบแผนวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 47-58.
ที่ทำการปกครองจังหวัดลำพูน. (2566). ตรวจการประเมินผลงานการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567. จาก https://lamphundopa.go.th100785/.
ปกิจ พรรัตนานุกูล และคณะ. (2566). ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 32-46.
ปูน วิเศษศรี และคณะ. (2563). การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามการรับรู้ของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 27-38.
พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(2), 243-262.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด และคณะ. (2562). วัฒนธรรมทางการเมืองหลักของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(4), 63-96.
รพีพร ธงทอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 27-40.
สมภพ ระงับทุกข์. (2564). การปกครองระบอบประชาธิปไตยกับสถาบันทางการเมืองไทยในยุครัฐธรรมนูญ 2560. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(2), 205-215.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/ mainpage.
A1. (3 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
A2. (3 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
Almond, G.A. & Verba, S. (1963). The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown & Company.
B1. (3 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
B4. (3 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
D1. (17 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
D2. (18 กุมภาพันธ์ 2567). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทาง การเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น. (อารยา อุดมรัตน์, สัมภาษณ์)
Wacks, R. (2017). Understanding Jurisprudence: An introduction to legal theory (5th ed.). Oxford: Oxford University.