ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเห็ด ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พัชรพงษ์ เชิญนิยม
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์
สุรพงษ์ แสงเรณู
วุฒิชัย ตาลเพชร
ณัฐพงษ์ ราชมี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2. วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุม 3. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกแยะเป็นประเด็นต่างๆ โดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ประธานกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มมารวมตัวกันที่วิสาหกิจชุมชนเพื่อประชุมเพื่อวางแผนในการทำงาน และมีการแบ่งหน้าที่กันทำในการทำงานออกเป็นส่วน ๆ เพื่อที่จะทำให้งานออกมาได้อย่างรวดเร็ว 2. สมาชิกมาประชุมหรือมาทำงานไม่ครบทำให้การทำงานล่าช้า บางครั้งสมาชิกติดธุระ ทำให้งานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด 3. ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มจะช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาช่วยกันออกความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเวลามีปัญหาอะไรประธานก็จะนัดสมาชิกกลุ่มประชุมเพื่อหาทางออกและมีการวางแผนในการทำงานในทุก ๆ ครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). เศรษฐกิจชุมชนในแนวคิดของงานพัฒนาชุมชนกับการแก้ปัญหาความยากจน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555). การสร้างความยั่งยืนให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

กัญญามน อินหว่าง และคณะ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการจัดการและความสำเร็จจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. นนทบุรี: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ชมภูนุช หุ่นนาค ปภาวดี มนตรีวัต และวิพร เกตุแก้ว. (2563). แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน. กาญจนบุรี : วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์. (2551). การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณรงค์ เพ็ชรประเสร็ฐ และพิทยา ว่องกุล. (2545). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพลส โปรดักส์.

ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ และนิชชิชญา นราฐปนนท์. (2561). การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณรงค์ เส็งประชา. (2562). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ทองใบ สุดชารี. (2542). ทฤษฎีองค์การวิเคราะห์แนวความคิด ทฤษฎี และการประยุกต์. อุบลราชธานี: ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นิศาชล เตจ๊ะขอด. (2562). บทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). มิติเรื่องฐานทรัพยากรกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุเทพมหานคร: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

บัณฑร อ่อนดำ และวิริยา น้อยวงศ์นยางค์. (2533). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบทประสบการณ์ของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรกันต์ จารุพพัฒน์. (2548). การวัดประสิทธิภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าผ้าพื้นเมืองในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิมลสิริ กูกขุนทด, ณัฐชนน มาพิจารณ์, อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม และณัฐพล บ้านไร่.

(2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

สมคิด บางโม. (2542). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

เสรี พงศ์พิศ. (2546). วิธีคิด วิธีทำ แผนชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ภูมิปัญญาไท.

สุพาดา สิริกุตตา. (2566). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2539). องค์กรและการจัดการ ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.