การพัฒนานวัตกรรมระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วีรฤทธิ์ พิพัฒนาศักดิ์
สุวุฒิ ตุ้มทอง
จิดาภา เร่งมีศรีสุข
สมพงษ์ พิพัฒน์เอกสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และความต้องการของระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี 2) สังเคราะห์ระบบการจัดทำงานระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี และ 3) การพัฒนาและประเมินรูปแบบนวัตกรรมระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน และผู้ร่วมสนทนากลุ่ม 9 คน โดยมีวิธีการในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล และการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’C.  (6’C. Technic Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และความต้องการของระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี มี 5 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยภายในองค์กร   2. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 3. ปัจจัยด้านบุคลากร 4. ความต้องการของระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจ 5. ปัจจัยอื่น ๆ ในส่วนรูปแบบนวัตกรรมระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจ ฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี “PSSFSCIA Model” มี 8 ขั้นตอนสำคัญ ประกอบด้วย                      1. ความมุ่งหมายระบบการจัดการ 2. โครงสร้างฐานข้อมูล 3. ระบบการเข้าถึงข้อมูล
4. ฟังก์ชันหลัก 5. การรักษาความปลอดภัย 6. การเชื่อมต่อกับระบบอื่น 7. นวัตกรรมกระบวนการ และ 8. โปรแกรมประยุกต์  ขั้นตอนที่นำเสนอนั้นครอบคลุมกระบวนการจัดการฐานข้อมูลประวัติข้าราชการตำรวจได้อย่างละเอียดและครบถ้วน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวางแผน การออกแบบ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ และผลการประเมินนวัตกรรมระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประวัติข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 ด้าน ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ ซึ่งมีเกณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน  ในแต่ละด้านได้ผล ดังนี้ ด้านความถูกต้อง
มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.84 อยู่ในระดับถูกต้องมากที่สุด ด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 4.71 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 อยู่ในระดับความเป็นไปได้มากที่สุด และด้านความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.87 อยู่ในระดับเป็นประโยชน์มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนบดี รอดสิน, ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, และลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล. (2565). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการค้าสัตว์ป่าต่างประเทศ. วารสารวนศาสตร์ไทย, 41(2): 123-135.

นภัทร์ แก้วนาค .(2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (Qualitative Data Analysis Technic). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิทย์พิมล ชูรอด และจรรยา ชูทับ. (2565). การพัฒนาระบบช่วยสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Google App Engine บน Cloud Platform. PULINET Journal, 3(1), 71-78.

วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศิริสุภา เอมหยวก และสนทยา สาลี. (2562). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 10(1), 35-48.

สุกัญชลิกา บุญมาธรรม, จิรวัฑฒ์ แก้วโกศล, และเอกพงษ์ ทองแท้. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล). วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1) : 51-62.

สุจิตรา อดุลย์เกษม และวรัฐา นพพรเจิรญกุล. (2560). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อริสรา ธนภาวัฒน์ และสมบูรณ์ สาระพัด. (2566). กรอบแนวคิดการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(2), 363-374.

Berelson, D. (1952). Content Analysis in Communicative Research. New York: The Free Press.

Denzin, N.K. (1970). The research act. Chicago, IL: Aldine.

Gefen, D., Karahanna, E., & Straub, D. (2003). “Trust and TAM in online shopping: An integrated model”. MIS Quarterly, 27(1), 51–90.

Macmillan, Thomas T. (1971). “The Delphi Technique.”, Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California. (May 1971), 3-5.

Sadia Tabassam, Neelam Gul Chaudhry, & Khaldoon Nusair. (2016). การใช้ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology Acceptance Model: TAM) ในการวิเคราะห์การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ของประเทศที่เป็นเศรษฐกิจใหม่. ค้นคว้าเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก https://search.proquest.com.ejournal.mahidol.ac.th/abicomplete/docview/1826918139/558998A732A54F88PQ/1?accountid=46528".

Shashi B. L., Pankaj K. P., Punit K. R., Anil R., Anu S. and Krishna K. C. (2013). Design and development of portal for biological database in agriculture. Biomedical Informatics, 9(11), 588.

Wongwiset, T., Hamkhamphai, A., & Zatun, P. . (2023). The Development of an Expiration Date Database System for Convenience Stores. KKU Science Journal, 51(2), 91–102. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/252608.