พุทธธรรม : การจัดการความขัดแย้งในองค์กร

Main Article Content

พระครูประภาตปัญญาธร

บทคัดย่อ

         ในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการคุณภาพภายในองค์กร หนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือความขัดแย้งภายในองค์กร ซึ่งอาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน หรือความไม่เข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในบทความนี้จะเสนอแนวทางในการจัดการความขัดแย้งโดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่เน้นการสร้างความเข้าใจและการประนีประนอม เพื่อนำไปสู่บรรยากาศที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการจัดการความขัดแย้ง เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้


บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในองค์กร โดยการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาในสังคม โดยที่หลักพุทธธรรมนั้น เน้นการเข้าใจตนเองและพิจารณาต้นเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง รวมถึงการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะหลักอริยสัจ 4 และหลักพรหมวิหาร 4 ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความขัดแย้ง และสามารถเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจภายในองค์กร นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพของการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุขได้  ดังนั้น บทความนี้ จึงนำเสนอแนวคิดพื้นฐานของพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้ง การวิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของความขัดแย้งในองค์กร และการเสนอแนะวิธีการจัดการความขัดแย้ง โดยใช้หลักพุทธธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการประยุกต์ใช้แนวทางดังกล่าวในชีวิตการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่า การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการจัดการความขัดแย้ง เช่น อริยสัจ 4 และพรหมวิหาร 4 ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างบุคคลและการประนีประนอมภายในองค์กร ส่งผลให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงพัฒนาคุณภาพการสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร​

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณิต ดวงหัสดี และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2564). พุทธบูรณาการจัดการความขัดแย้งเพื่อสันติภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 3.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร, (2564), การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กร, วารสารวิจยวิชาการ. 4(3). 294.

นารีรัตน์ อนุรัตน์. (2556). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในอำเภอบ่อทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประภาวัลย์ บุญญานภาพันธุ์ และพระมหาอุดร อุตฺตโร. (2565). ภาวะผู้นำกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์กรโดยหลักพุทธสันติวิธี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(3), 6.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2566). สลายความขัดแย้งเข้มด้วยปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำากัด.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2561). พุทธสันติวิธี: การบูรณาการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณทิตยสถาน. (2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์.

รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม. (2561). ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 230.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.