การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรม การประเมินเพื่อการเรียนรู้

Main Article Content

นัทธ์หทัย กันทพงษ์
พรภวิษย์ เปาเส็ง
ไพโรจน์ กันทพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการรับรู้ประโยชน์ของนวัตกรรมเป็นกรอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรีสากล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จำนวน 24 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า


1. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่าผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งนักศึกษาแสดงความพึงพอใจในระดับสูงต่อการใช้นวัตกรรมการประเมิน เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการเรียนรู้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


2. แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่านักศึกษามีความรับรู้ถึงความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งาน ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับการปรับปรุงการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และทัศนคติของผู้เรียนต่อการใช้งานเป็นไปในเชิงบวกและมองว่าสามารถใช้ในการประเมินในอนาคตได้ นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ยังมีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีการประเมินแบบดั้งเดิมและสามารถปรับใช้กับวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม ทำให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ในอนาคต


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่ครอบคลุมหลากหลายวิธี ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการประเมิน และปรับปรุงกระบวนการสอนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการประเมินผลในระยะยาวเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในอนาคต

Article Details

How to Cite
กันทพงษ์ น. ., เปาเส็ง พ. ., & กันทพงษ์ ไ. . (2025). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรม การประเมินเพื่อการเรียนรู้. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 129–140. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275960
บท
บทความวิจัย

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วสันต์ สุทธาวาศ, และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 748-767.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations. (5th ed.). New York: Free Press.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User Acceptance of Information Technology: Toward A Unified View. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.

Venkatesh, V., Thong, J. Y. L., & Xu, X. (2012). Consumer Acceptance and Use of Information Technology: Extending the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology. MIS Quarterly, 36(1), 157-178.

Vincent, L. (2004). Coaching For Meaning: The Culture and Practice of Coaching and Team Building. Great Britain: Palgrave Macmillan.