การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ

Main Article Content

เพชรา บุดสีทา
นภาลัย บุญคำเมือง
ศิริพร โสมคำภา
อนุธิดา เพชรพิมูล
คุณัญญา เบญจวรรณ
พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
ปุญชรัสมิ์ กีรติพรนิภัทธิ์
วิษณุเดช นันไชยแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ จำนวน 5 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ จำนวน 24 คนที่ได้จากการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์วิชาการจัดการแบบบูรณาการ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ  t-test Dependents ผลการวิจัย พบว่า


1. บทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57)


2. ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53)       


ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ เหมาะสำหรับการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์จริงเสมือน ออกแบบบทเรียนที่มีความสนุกสนาน และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน

Article Details

How to Cite
บุดสีทา เ., บุญคำเมือง น. ., โสมคำภา ศ. ., เพชรพิมูล อ. ., เบญจวรรณ ค. ., วงศ์กองแก้ว พ. ., กีรติพรนิภัทธิ์ ป. ., & นันไชยแก้ว ว. . (2025). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ . วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 115–128. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275592
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร พละสนธิ และ นรีรัตน์ สร้อยศรี. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิตเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(11), 9-17.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC : เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21 . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(10), 46-70.

เชน ชวนชม (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ สถาบันพลศึกษา, 10(3), 195-206.

ธัญวดี กำจัดภัย และ เกษศรินทร์ สมราช. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อสร้างเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสารผ่านเว็บบล็อก สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(3), 169-179.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และ เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2560). มาตรฐานและแนวปฏิบัติ การเรียนการสอน MOOC ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ริมปิงการพิมพ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/en/flagship-project/3035-thai-mooc.html

สุภาวดี เพชรชื่นสกุล และ นิสาชล กาญจนพิชิต. (2566). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์หลักสูตรทักษะการเรียนรู้สารสนเทศสาหรับนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC). วารสารอินฟอร์เมชั่น, 30(1), 18-34.

Doherty, A. (1998). The Internet: Deterrent to Become a Passive Surfing Technology. Educational Technology, 38(5), 61-63.