วิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสังโยชน์เบื้องต่ำ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ 1) โยคีบุคคลเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มีความแกล้วกล้า รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นย่อมละสักกายทิฏฐิได้ 2) โยคีบุคคลไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อการกำหนดรู้สภาวธรรมตามที่เป็นจริงย่อมเป็นเหตุให้ละ คือ กำจัดวิจิกิจฉาได้ 3) โยคีบุคคลละความยึดมั่นถือมั่นว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลและพรตปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ก็จะสามารถละสีลัพพตปรามาสได้ 4) โยคีบุคคลละกามราคะ คือความหมกมุ่นในกามทั้งหลายด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทำโยนิโสมนสิการ และเจริญอสุภกรรมฐานจะช่วยให้กำหนดรู้เท่าการเกิด-ดับของราคะ สามารถละกามราคะได้ 5) โยคีบุคคลผู้รู้ปฏิฆะ คือ ความอาฆาต เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาธรรมด้วยปัญญาตามความจริง มิใช่สัตว์บุคคลตัวตนทั้งสิ้นเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละปฏิฆะได้ในที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2530). อภิธัมมัตถภาวินีฎีกา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 55). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุจินต์ บริหารวนเขตต์. (2553). ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.