แนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก

Main Article Content

พระครูพิมลธรรมภาณ มานพ ปาละพันธ์
วิโรจน์ คุ้มครอง
พระศรีวินยาภรณ์ สายรุ้ง แดงงาม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระอรหันต์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาบทบาทการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า  แนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎกกล่าวคือ พระมหากัสสปเถระมีบทบาทในการสนทนาธรรมะ แสดงธรรม และตอบปัญหาธรรมร่วมกับภิกษุสาวกรูปอื่น  เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 พระสารีบุตรเถระมีบทบาทในการสอนให้พุทธบริษัท 4 และบุคคลทั่วไปเกิดศรัทธาเลื่อมใสหันมานับถือพระรัตนตรัยกันอย่างแพร่หลาย  พระมหาโมคคัลลานเถระมีบทบาทในการประกาศพระพุทธศาสนาในรูปแบบของการสนทนา แบบบรรยาย แบบถามตอบปัญหา และแบบการใช้ฤทธิ์ปราบมิจฉาทิฏฐิบุคคล และฝ่ายภิกษุณี ได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีมีบทบาทในฐานะต้นกำเนิดของภิกษุณี และเป็นผู้นำภิกษุณีในสมัยพุทธกาล พระเขมาเถรีมีบทบาทในฐานะอัครสาวิกาเบื้องขวา มีปัญญามากสามารถบรรยายธรรมไม่ผิดเพี้ยนกับพระพุทธเจ้า เป็นผู้นำภิกษุณีในสมัยพุทธกาล พระอุบลวรรณาเถรีมีบทบาทในฐานะเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย มีฤทธิ์มาก เป็นต้นบัญญัติที่ภิกษุต้องไม่ขอไตรจีวรกับผู้มิใช่ญาติ และแสดงธรรมโต้ตอบมารเป็นต้น พระเถระและพระเถรีทั้ง 6 องค์ นี้มีภาวะความเป็นผู้นำสูง อบรมสั่งสอนประชาชนให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีส่วนช่วยประการศพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้

Article Details

How to Cite
ปาละพันธ์ พ. ม. ., คุ้มครอง ว. ., & แดงงาม พ. ส. . (2025). แนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 87–96. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275518
บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2547). แผนการกู้อิสระภาพของเจ้าชายสิทธัตถะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2538). ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภัทร สุคันธาภิรมย์ ณ พัทลุง. (2541). พุทธปรัชญากับปรัชญามาร์กซิสต์. กรุงเทพฯ: พชรกานต์พับลิเคชั่น.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.