กระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญในมหานิทานสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร กระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร คือ ปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทุกข์ 12 ประการเริ่มตั้งแต่อวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี สังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี นามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมี สฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงมี ผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี เวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี อุปาทานเป็นปัจจัยชาติจึงมี ภพเป็นปัจจัยชาติจึงมี ชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมี และชรามรณะเป็นปัจจัยความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจจึงมี กองทุกข์ทั้งปวงจึงเกิดขึ้นประการฉะนี้ และปฏิจจสมุปบาทสายดับทุกข์ 12 ประการเริ่มตั้งแต่เพราะอวิชชาสำรอกดับไปโดยไม่เหลือสังขารจึงดับ สังขารดับวิญญาณจึงดับ วิญญาณดับนามรูปจึงดับ นามรูปดับสฬายตนะจึงดับ สฬายตนะดับผัสสะจึงดับ ผัสสะดับเวทนาจึงดับ เวทนาดับตัณหาจึงดับ ตัณหาดับอุปาทานจึงดับ อุปาทานดับภพจึงดับ ภพดับชาติจึงดับ ชาติดับชรามรณะจึงดับ ชรามรณะดับความโศก ความคร่ำครวญ รำพัน ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจก็ดับ เมื่อดับวงจรของปฏิจจสมุปบาทได้ การเกิดในชาติปัจจุบันนี้ ถือว่าเป็นชาติสุดท้าย การดับวงจรของชีวิตหรือดับปฏิจจสมุปบาทได้ ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนากล่าวคือเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ จักไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราภรณ์ ผันสว่าง, พระครูกิตติวราทร, อมรรัตน์ ผันสว่าง, เอกราช โฆษิตพิมานเวช และ ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2567). รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันและแก้ไขการทะเลาะวิวาทอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้หลักอริยสัจสี่ของเยาวชนกลุ่มเปราะบาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 401–420. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/ 269039
บุษราภรณ์ บุญเอียด, พระเมธีวชิราภิรัต และ สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร. (2567). กรรม การเกิดใหม่และสังสารวัฏตามหลักพุทธปรัชญา. มมร ล้านนาวิชาการ, 13(1), 128–138. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/mbulncjournal/article/view/269805
พระทรงชัย พิประโคน และ วิโรจน์ คุ้มครอง. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสัตตัฏฐานสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 585–595. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/256932
พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระอรรถชาติ เดชดํารง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 55). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Nikapitiya, N., & Ranjan, J. K. (2024). Exploration of Theoretical Foundation of Mindfulness-Based Cognitive Therapy: With Special Reference to the Satipatthana Sutta. Journal of International Buddhist Studies, 15(1), 116–128.