แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมเพื่อสร้างเสริมคุณค่าการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีล-เบญจธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมเพื่อสร้างเสริมคุณค่าการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมเพื่อสร้างเสริมคุณค่าการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย คือ 1) ผู้สูงอายุควรงดเว้นจากการฆ่าสัตว์คู่กับหลักเบญจธรรมคือ มีเมตตาได้แก่ การไม่ทำร้ายผู้อื่น มีความปรารถนาให้ผู้อื่นให้มีความสุข และมีกรุณาคือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 2) ผู้สูงอายุควรงดเว้นการลักทรัพย์คู่กับหลักเบญจธรรมคือ มีสัมมาอาชีวะ ได้แก่ ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ทำอาชีพผิดกฎหมาย ไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน 3) ผู้สูงอายุควรงดเว้นการประพฤติผิดในกามคู่กับหลักเบญจธรรมคือ มีกามสังวร ได้แก่ สำรวมในกาม รักเดียวใจเดียว ยินดีในคู่ครองของตน 4) ผู้สูงอายุควรงดเว้นการพูดเท็จคู่กับหลักเบญจธรรมคือ มีสัจจะ ได้แก่ การพูดความจริง ไม่พูดโกหกทำให้บุคคลอื่นเสียหาย 5) ผู้สูงอายุควรงดเว้นการดื่มสุราและเมรัยคู่กับหลักเบญจธรรมคือ มีสติได้แก่ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว สติเป็นคุณธรรมใช้ระลึกก่อนจะทำ พูด คิด เพื่อความรอบคอบ ส่วนสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมใช้รู้ตัวขณะกำลังทำ พูด คิด หลักเบญจศีลต้องคู่กับหลักเบญจธรรม เป็นหลักมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุทุกคนควรปฏิบัติควบคู่กันเพื่อประโยชน์และความสุขทั้งแก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรีชา อุปโยคิน. (2553). ความสุขของผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สำนักงานแพทย์ทางเลือก.
ปัทมา ประสาทกุล. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
พระเทวินทร์ เทวินฺโท. (2544). พุทธจริยศาสตรจิรยศาสตร์ และจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นงลักษณ์ ครุฑแก้ว.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2554). วิปัสสนากรรมฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.
พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระมหาสมปอง ปมุทิโต. (2555). คัมภีร์อภิธานวรรณา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2565). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.