วิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปายะ 7

Main Article Content

พระครูสมุห์สมบัติ สรรพคุณ
วิโรจน์ คุ้มครอง
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรีตามหลักสัปปายะ 7 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปายะ 7 พบว่า ทางวัดมีที่อยู่ที่พักที่อาศัยและสถานที่ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม มีโคจรสัปปายะ คือ หมู่บ้านหรือท้องถิ่นเหมาะสมสำหรับบิณฑบาต การเดินทางสัญจรสะดวก มีปุคคล  สัปปายะคือ พระสงฆ์ที่เป็นกัลยาณมิตรคอยสอนและสอบอารมณ์ในขณะปฏิบัติ มีความรู้ความสามารถ มีอาจาระงดงาม มีภัสสสัปปายะคือ การสนทนาพูดคุยที่เหมาะสมในระหว่างการปฏิบัติ การสำรวมวาจา มีอิริยาปถสัปปายะคือ มีการสอนการปฏิบัติในอิริยาบถต่างๆ  ตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีโภชนสัปปายะ คือ มีอาหารและเครื่องบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาหาร ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติ ย่อยง่าย และมีอุตุสัปปายะคือ มีสภาวะดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะสม คือ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป สัปปายะของทางวัดส่งผลให้การปฏิบัติธรรมมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านทาน ศีลและปัญญาส่งผลให้จิตใจสงบตามสมควรแก่การปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
สรรพคุณ พ. ., คุ้มครอง ว. ., & นักการเรียน ม. . (2025). วิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปายะ 7 . วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 69–76. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275498
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2545). การพัฒนาสถานที่ปฎิบัติธรรม. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). มีวัดเป็นรมณีย์ มีกุฎีเป็นที่สบาย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2549). คู่มือการปฏิบัติงาน : การขอตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.