แนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักโอวาทปาติโมกข์ในพระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พบคือ 1) หลักการ 3 ได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวงคือ ละอกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางชั่ว ความเสื่อม และความทุกข์ การทำกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการสร้างกุศลธรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญ และ การทำจิตใจของตนให้สะอาดด้วยการละสังโยชน์ 10 มีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นต้น 2) อุดมการณ์ 4 ได้แก่ ความอดทน นิพพานซึ่งเป็นภาวะที่เป็นความสงบสุขสูงสุด เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ด้วยการบรรลุอริยบุคคล การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่เบียดเบียนคิดทำร้ายผู้อื่นแต่คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 3) วิธีการ 6 ได้แก่ การไม่กล่าวว่าร้ายคนอื่นด้วยการละวจีทุจริต 4 มีการไม่พูดเท็จ เป็นต้น การไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการละกายทุจริต 3 มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย เป็นต้น ความสำรวมในปาติโมกข์ คือ สำรวมในศีล 2 27 ข้อ เว้นจากข้อที่ทรงห้าม และปฏิบัติตามข้อที่อนุญาตไว้ รู้จักประมาณในอาหารด้วยการบริโภคไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปแต่พอดีกับความต้องการของร่างกาย การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด คือ อยู่ในเสนาสนะป่า สงัดกายซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำจิตให้สงบได้ง่าย และการประกอบความเพียรด้วยการเจริญสมาบัติ 8 มีการเจริญปฐมฌาน เป็นต้น เป็นประจำ ทำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คุณารักษ์ นพคุณ. ( 2544). เนติปกรณ์แปล. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
พระธรรมโกศาจราย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระพุทธโฆสเถระ. (2554). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ อาจ อาสถมหาเถร แปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมพร เจริญพงศ์. ( 2544). พจนานุกรมไทย ฉบับพิสดาร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.