ความเชื่อเรื่องกรรมของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระชินพล ปรางทอง
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อเรื่องกรรมของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องกรรม พบว่า เพศ และระดับการศึกษา ของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันมีความเชื่อเรื่องกรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องของกรรม พบว่า ประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) มีความเชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นการกระทำทั้งดีและไม่ดี การทำบุญหรือการทำความดีอื่น ๆ จะส่งผลดีให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวมีความสุข ทั้งในชีวิตนี้และในโลกหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ กอบัวแก้ว. (2557). การวิจัยเพื่อการบริหาร. นนทบุรี: วรารัตน์เบสพริ้นติ้ง.

ธวัช ปุณโณทก. (2530). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระครูปลัดอนุวัฒน์ ซื่อสัตย์. (2567).การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อจัดการความโกรธของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรานนท์ ปริปุณฺโณ, พระครูใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช และ พระครูวินัยธร ธรรมรัตน์ เขมธโร. (2564). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมตามทัศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธในสังคมไทย. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 316-330.

พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม. (2565). ศรัทธากับปัญญา: วิเคราะห์มุมมองในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 449-466.

พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ และ แม่ชีจำเรียง กำเนิดโทน. (2563). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 6(1), 40-52.

พระยุธาน นาคขำ. (2567). การประยุกต์ใช้ขันติธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนวัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 247-256.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2561). พุทธศาสนาเถรวาท. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน์ จันทรจำนง. (2540). ปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.