การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ) ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนวัด ตัวแทนประชาชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ รวม 15 คน
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ปัจจุบันมีน้อยลง เนื่องจากได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากผู้นำชุมชน วัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย ทิศ 6 อบายมุข 6 เบญจศีลเบญจธรรม และการคบมิตร และหลักธรรมอื่น ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความละอายแก่ใจ และความเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น การประยุกต์หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โดยการประยุกต์หลักทิศ 6 ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรักความเข้าใจอันดีระหว่างคนในครอบครัว 2) การส่งเสริมการให้ความเคารพต่อพระสงฆ์/ผู้สูงอายุ/ผู้ใหญ่/ครูอาจารย์ในชุมชน และ3) การส่งเสริมการรวมกลุ่มเยาวชนเพื่อต้านยาเสพติด การประยุกต์ใช้หลักอบายมุข 6 ในการป้องกันปัญหายาเสพติด ได้แก่ 1) ชุมชนและครอบครัวสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอบายมุข 2) ชุมชนจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้ห่างไกลจากอบายมุข การประยุกต์หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ได้แก่ 1) ชุมชนไม่ส่งเสริมการจำหน่ายสุรายาเมาทุกชนิดในเขตชุมชน 2) ชุมชนร่วมกับหน่วยงานราชการกวดขันจับกุมผู้เสพและผู้จำหน่วยยาเสพติด 3) ชุมชนร่วมกับหน่วยงานราชการจัดกิจกรรมครอบครัวผาสุข การประยุกต์การคบมิตร ได้แก่ 1) กิจกรรมกีฬาชุมชน 2) กิจกรรมจิตอาสาในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกศล วงศ์สวรรค์. (2543). ปัญหาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ประกาศิต ชัยรตน์. (2560). หลักพุทธธรรมกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเยาวชน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(1),13-27.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก หน้า 1-80 (8 พฤศจิกายน 2564)
พระอธิการสุพิศ ทรงจิตร, สุทัศน์ ประทุมแก้ว และ พระกัญจน์ แสงรุ่ง. (2562). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบำบัดและลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเยาวชนติดยาเสพติด: กรณีศึกษาวัดโนนสูงวนาราม ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 4(2), 48-62.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2532). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2543). ยาและสิ่งเสพติดให้โทษ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.