การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตจากการใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตระหว่างการเรียนการสอนแบบปกติและการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนสามโคก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนทั้งหมด 342 คน/กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 34 คน/ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) แบบสอบถามผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย 3) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตจากการใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตอยู่ในระดับดี
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะชีวิตระหว่างการเรียนการสอนแบบปกติและกระบวนการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการส่งเสริมทักษะชีวิต มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับดี
3. การศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ ควรจัดการเรียนการสอน ในการจัดกิจกรรมให้สนุกสนาน ส่งเสริมให้คิดบวก พร้อมกับสอดแทรกหลักธรรมคำสอนมาปรับใช้ในชีวิต และมีการฝึกทำงานกลุ่ม การศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ หรือแหล่งเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลชญา วงษ์เพ็ญ. (2562). การศึกษากระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 22(1), 103-109.
ณดล โตไทยะ และ ลักขณา สริวัฒน์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 263-280.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียา สมพืช. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กรณีศึกษาตามแนวโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนาการคิดไตร่ตรองและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพิทักษ์ อริยปุตฺโต (2565). การสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2566). ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy). [ออนไลน์] https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=11322 สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2566.
วิชัย ประสิทธิวุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพ เพรส.
วีระ พลอยครบุรี. (2557). ครูและการสอน. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.
ศรีไพร จันทร์เขียว. (2559). การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยพุทธวิธีบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.