การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้ 1) ด้านทาน มีสาระสำคัญได้แก่ ควรมีการจัดระบบการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในชุมชน และมีการให้ความช่วยเหลือในรัฐสวัสดิการที่ทั่วถึงและเป็นธรรม 2) ด้านปิยวาจา มีสาระสำคัญได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐควรใช้การสื่อสารกับประชาชนผู้มารับบริการด้วยความเป็นกัลยาณมิตรและสุภาพ 3) ด้านอัตถจริยา มีสาระสำคัญได้แก่ ควรมีการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อชุมชนแก่ประชาชนและมีการยกย่องประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ทำความดี และส่งเสริมสุขภาวะชุมชน 4) ด้านสมานัตตตา มีสาระสำคัญได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐควรมีมาตรฐานในการให้คุณให้โทษที่เสมอภาคและเท่าเทียม และการจัดสรรรัฐสวัสดิการที่ทั่วถึงและเป็นธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ แสนคำลือ. (2561). “การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คูมือการพัฒนาชุมชนแหงการเรียนรู ฉบับสมบูรณ. กรุงเทพมฯ:สํานักงาน คณะกรรมการวิจัยแหงชาติ.
ทองคูณ หงษ์พันธ์. (2541). แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์.
พระนพพร ญาณสมฺปนฺโน (แก้วคง) . (2561). “การบริหารการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมฯ : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเทวประภาส วชิราณเมธี (มากคล้าย). (2559). “พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2551). ธรรมใจ. กรุเทพมหานคร : ดีเอ็มจี.
พุทธทาสภิกขุ. (มปป). บริหารธุรกิจแบบพุทธ. กรุงเทพมฯ : อตัมมโย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมฯ : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน).(2528). สังคหวัตถุ 4.กรุงเทพมฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ไสว มาลาทอง. (2552). คู่มือการดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
องค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง. (2565). ข้อมูลประชากร.อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี..
อรศิริ เกตุศรีพงษ์. (2550). “สังคหวัตถุ 4 : วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้”. วารสาร Productivity World เพื่อการเพิ่มผลผลิต. ปีที่ 12 ฉบับที่ 68. พฤษภาคม - มิถุนายน 2550.
Arthur Dunham. (1998). “The Outlook for Community Development” in the Social Welfare Forum 1988 Proceedings of the National Conference on Social Welfare.
Taro Yamane. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and. Row Publication.