การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พระสมุห์อาทิตย์ สาครสุพรรณ
อภิชาติ พานสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่เมืองสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 387 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักไตรสิกขาโดยภาพรวม และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยภาพรวม ของผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ (1) ด้านศีล ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพของผู้อายุทั้งด้านจิตใจและอาหาร เน้นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวและผ่อนคลาย (2) ด้านสมาธิ การเสริมสร้างความเข้าใจผู้สูงอายุให้รู้จักการปล่อยวางไม่ยึดติด ดำเนินการบริหารจัดการความรู้สึกของผู้สูงอายุที่มีความวิตกกังวลในสภาพแวดล้อมทางสังคม (3) ด้านปัญญา ให้ผู้สูงอายุนำความรู้มาถ่ายทอดและการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นของตน ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภายนอกโดยการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนในการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรตินัดดา พึ่งสมบัติ. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลโรงช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร, (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขวัญษา เอกจิตต์. (2559). หลักไตรสิกขากับการพัฒนาตน. หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ). ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.

จันทร์เพ็ญ สุริยาวงษ์. (2554). เพชรบุรี: คุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ. (วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม).

จินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2561). แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่21: ความท้าทายในการพยาบาล. (วารสาร ทหารบก). ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). การศึกษาเพื่อสันติภาพ, (กรุงเทพฯ: สหธรรมิก).

วรางคณา โสมะนันทน์. (2558). การพัฒนาคุณลักษณะนิสิตตามหลักไตรสิกขาในนิสิตประดับปริญญาตรี. (ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลพร ขําวงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. (วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2.

สมพร โพธินาม. (2549). ศึกษาผู้สูงอายุไทย: บริบทของจังหวัดมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง.(2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง (ระยะที่ 1)”, (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี).