กระบวนการบริหารความเสี่ยงตามหลักอริยสัจ 4 ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อระดับศึกษาองค์ประกอบของความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงตาม
หลักอริยสัจ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง และแนวคิดเกี่ยวกับหลักอริยสัจ 4 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานส่วนตำบลที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับกระบวนการบริหารความเสี่ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับองค์ประกอบของความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักอริยสัจ 4 ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกด้าน ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจหลักและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอยู่เสมอ มีการทบทวนและปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงอยู่เสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2563). การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.
ชนิกา ภูวดิษยคุณ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารความเครียดในองค์กร(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2562). การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภาศรี ไวยอรรถ. (2562). การบริหารความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระครูปลัดศักดิ์ มหาวีโร (โกศลสุภวัฒน์). (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระมหารัฐพล สิริภทฺโท (ทับแสง). (2563). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นประถมศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนะ กัลป์ยาณ์พัฒนกุล. (2560). การบริหารความเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(พิเศษ), 166-180.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2563). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (2562). แนวทางการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.
อมรรัตน์ ตันติแสงหิรัญ. (2561). การบริหารความเสี่ยงและการตัดสินใจเชิงพุทธบูรณการสำหรับการลงทุนในตลาดการเงินออนไลน์(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุดม เศษโพธิ์. (2562). การบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเพชรบูรณ์(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.