การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พระมหาอนันต์ เกษประทุม
พระครูโสภณวีรานุวัตร นิคม เกตุคง
วิชชุกร นาคธน
อภิชาติ พานสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 377 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ คือ (1) การจัดการประชุมควรเชิญตัวแทนของประชาชนมาเข้าร่วมประชุมในทุกครั้ง (2) การกำหนดนโยบายต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน (3) การบริหารงานของหน่วยงานราชการต้องมีความโปร่งใส่ (4) ในการบริหารงานนั้นต้องให้ความสำคัญเรื่องสิทธิสตรีก็มีความสำคัญในปัจจุบัน (5) การอนุรักษ์และให้ความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมต้องคงไว้ซึ่งประเพณีเดิม (6) การต้อนรับประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่เข้ามาเยี่ยมชม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมานันท์ ขบวนฉลาด. (2564). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 133-142.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระกฤษดา แก้วประยูร, กันตภณ หนูทองแก้ว และ สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร. (2566). การใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารจัดการองค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมณีเชษฐาราม, 6(2), 211-227.

พระครูปลัดไพฑูรย์ มหาบุญ. (2558). อปริหานิยธรรม : สันติภาพสู่สังคมไทย. กระแสวัฒนธรรม, 16(29), 73-82.

พระมหาพงศกร มะลิลา. (2564). ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5 ส ของวัดในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 1–14.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ดแอนด์โฮม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Klomkul, L., Damnoen, S., Sawasdee, U., & Wilairadtanakun, A. (2023). Network Development of Buddhist Communication Innovative Space For Media Literacy of Thai Youths. Journal of Namibian Studies: History Politics Culture, 35, 919-935.