การพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนผ่านรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตรครัวภาษาไทย”

Main Article Content

กมลวรรณ เลิศสุวรรณ
หงเจียว หยาง

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัย Hainan Tropical Ocean University ประเทศจีน เป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่เปิดการเรียนในหลักสูตรภาษาไทย โดยนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 ทุกคน จะได้รับการฝึกประสบการณ์ในสายอาชีพที่ต้องการที่ประเทศไทย อย่างไรก็ดีในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถเดินทางมาที่ประเทศไทยได้ จึงต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นแบบออนไลน์กับมหาวิทยาลัยที่ประเทศไทย แต่ข้อจำกัด คือ การขาดประสบการณ์ทางตรงที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนไทย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำ “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” ขึ้น เพื่อทดแทนการเดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทย วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาหารไทยได้ตามสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะภาษาไทยที่ดีขึ้นผ่านการเรียนรู้ด้วยการทำอาหารไทย ทำการสอนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่ง และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระยะเวลาในการเรียน คือ 28 ชั่วโมง และผู้เรียน คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ในการจัดการเรียนรู้ “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยจากการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบย่อยแต่ละกิจกรรม (E1) เท่ากับ 300.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 360 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.46 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (E2) หลังเรียนเท่ากับ 46.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 93.14 ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตร ครัวภาษาไทย”  ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.46 / 93.14 และพบว่า ทักษะการพูดภาษาไทยของนักศึกษาหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


สรุปผลการวิจัย หลังเข้ารับการเรียนในหลักสูตร ครัวภาษาไทย นักศึกษามีทักษะภาษาไทยด้านการพูดสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในเนื้อหาที่นักศึกษาสนใจ คือ การทำอาหารไทย ทำให้นักศึกษาชาวจีนมีทักษะการพูดภาษาไทยที่ดีขึ้นได้




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 143-159.

ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). เอกสารคู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active Learning (AL) for HuSo at KPRU. กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง Active learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์. (2559). การพัฒนาไมโครเลิร์นนิงสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 51-62.

ศยามล อินิสะอาด. (2564). การออกแบบไมโครเลิร์นนิิงยุคดิจิทัล. วารสาร อีซีที เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 16-31.

ศิริลักษณ์ บุญมาพันธ์, ศยามน อินสะอาด และ สุพจน์ อิงอาจ. (2564). การพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(21), 65-78.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1 – 12.

Pandey, A. (2016). Benefits of Microlearning-Based Training. Nurse Education Today, 27(8), 825–831.

Katambur, D. (2024). Microlearning Design: 7 Must-Have Characteristics. Retrieved 20 June 2024, from https://blog.commlabindia.com/elearning-design/microlearning-designcharacteristics

Sudarshana, S. (2016). 8 Tips for Creating Effective Microlearning Courses. Retrieved 20 June 2024, from https://www.trainingindustry.com/articles/contentdevelopment.